วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จังหวัดที่มีส้วมใช้จังหวัดแรก

จังหวัดที่มีส้วมใช้เป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ประดิษฐ์คือนายอินทร์ บุญสะอาด เขามีตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการสุขาภิบาลของกรมสาธารณสุข นายอินทร์จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ แล้วเข้ารับราชการอยู่ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม และได้เป็นทหารกองหนุน ขั้นที่ ๑ ประเภทที่ ๑ จากนั้นได้เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ประจำหน่วยส่งเสริมสุขาภิบาลที่ ๔ สุดท้ายจึงย้ายไปเป็นผู้ตรวจการสุขาภิบาลประจำอำเภอท่าเรือ และที่นี่เองเขาได้คิดสร้างส้วมขึ้นมาเป็นครั้งแรก (ไม่ทราบวันเดือนปีที่สร้าง) เป็นส้วมสาธารณะตั้งอยู่ตรงตลาดท่าเรือ

ส้วมแต่ก่อนไม่มีฝาปิด ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายเขาจึงคิดส้วมชนิดมีฝาปิด โดยฝาปิดส้วมจะมีลักษณะเป็นลิ้น และลิ้นนี้จะไปขัดอยู่กับประตูส้วม วิธีใช้คือ เวลาเข้าไปถ่ายให้ใช้ขาถีบลิ้นที่เป็นฝาปิดนี้จะไปขัดกับประตู และจะมีส่วนยื่นออกมานอกประตูคนข้างนอกเห็นจะรู้ได้ทันทีว่าคนกำลังใช้ส้วมอยู่ก็จะไม่เข้าไป เพราะลิ้นขัดอยู่ตรงประตูไว้ เวลาใช้ส้วมเสร็จก็ให้ปิดฝาส้วมไว้ตามเดิมลิ้นที่ขัดอยู่ตรงประตูก็จะเปิดออก นั่นหมายความว่า ถ้าถ่ายเสร็จแล้วไม่ปิดฝาเหมือนเดิม ก็จะออกไปขางนอกไม่ได้ ส้วมชนิดนี้ใช้ชื่อตามนามสกุลของเขา คือ ส้วมบุญสะอาด

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

รู้หรือไม่ "คำว่าฟันธง มีที่มาอย่างไร"


ก่อนจะพูดถึงคำว่า "ฟันธง" ขอพูดถึงคำว่า "ฟัน" ที่เป็นคำกริยาก่อน ดร. นิตยา กาญจนะวรรณ อธิบายไว้ว่า คำว่า ฟัน นอกจากมีความหมายว่าเอาของมีคมฟาดลงไปแล้ว ปัจจุบันคำนี้มีความหมายที่ขยายออกไปเป็นจำนวนมาก เช่น


กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ตัวอย่างประโยค "งานนี้ฟันไปหลายล้านบาท"

-จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างประโยค "เจ้านายเป็นคนตรง ถ้าลูกน้องทำผิดก็จะฟันทันที"

-กระทำการทางเพศ

ตัวอย่างประโยค "ยายคนนั้นน่ะ กูฟันไปเรียบร้อยแล้ว"

ทีนี้มาถึงคำว่า "ธง" และ "ฟันธง"


คำว่า ธง ตรงกับคำว่า flag ในภาษาอังกฤษ The American Heritage Dictionary of the English Language กล่าวไว้ว่า

หมายถึงการส่งสัญญาณให้หยุดได้ด้วย ดังในความว่า "flag down a passing car"


คำว่า flag down เมื่อแปลมาเป็นไทย ก็กลายเป็น "ฟันธง" ไปได้อย่างไม่เคอะเขิน กิริยาฟันธงนี้ จะเห็นได้ในกีฬาแข่งรถ ใช้เป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่าถึงเส้นชัยแล้ว


ธง นอกจากเป็นอุปกรณ์ซึ่งใช้เป็นอาณัติสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ความหมายยังขยายออกไป หมายถึง แนวคำตอบสำหรับข้อสอบ ได้ด้วย


ตัวอย่างประโยค "อาจารย์ใหญ่ให้ธงคำตอบมาแล้ว เดี๋ยวพวกเราช่วยกันตรวจข้อสอบพวกนี้ก็ได้"


คำอธิบายความหมายนี้ ตรงกับข้อมูลที่ "ซองคำถาม" ได้มาจากเว็บไซต์ pantip.com ห้องสมุด มีผู้เข้ามาอธิบาย (ขออภัยที่ลืมชื่อผู้ให้ข้อมูล) ว่า


"ศัพท์นี้ใช้มาก่อนในวงการนิติศาสตร์ เวลาตอบข้อสอบหรือตัดสินคดีความ 'ธง' คือประเด็นใหญ่ หลักใหญ่ คือตัวบทมาตราข้อกฎหมายหลักที่นำมาปรับใช้กับกรณีนั้นหรือโจทย์ข้อสอบนั้น การให้คะแนนของอาจารย์จะแบ่งเป็นส่วน ๆ แต่ส่วนแรกต้องถูกต้องเสียก่อน เรียกว่า 'ธงถูก' หรือ 'ฟันธงถูก' สามารถอ้างอิงบทมาตราได้ชัดเจน ถ้าไม่ถูกตั้งแต่ต้น อาจารย์จะไม่อ่านต่อ ไม่ให้คะแนนเลย แต่ถ้าธงถูก ฟันธงถูก ก็ได้คะแนนไปเกินครึ่ง แต่จะได้มากได้น้อยแค่ไหนต้องตามไปดูอรรถาธิบายขั้นต่อ ๆ ไป การตอบ 'ฟันธง' ก็คือสรุปให้ชัดเจนก่อน ณ เบื้องต้นว่าหลักการคืออะไร จากนั้นจึงค่อย ๆ สาธยายเหตุผล"


สรุปว่า ปัจจุบันคำ "ฟันธง" มีความหมายว่า ตัดสินว่าต้องเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ ตัวอย่างประโยค "การชกมวยนัดนี้ ฟันธงลงไปได้เลยว่าฝ่ายแดงจะต้องเป็นฝ่ายชนะ" โดยคำนี้มีที่มาจากแวดวงการเรียนนิติศาสตร์


ที่มา ซองคำถาม นิตยสารสารคดี

ทำไม ยาคูลท์ถึงมีแต่ขนาด 80 ซีซี ?

เพราะยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรียชื่อ แลคโตบาซิลลัสที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยวเนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติกปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobacillus Balgaricu ร่วมกับStroptococcus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต

โดยปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อยและ หมักในทางเดินอาหารในส่วนที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถจะย่อยได้จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือแต่ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นเดียวกัน คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา

ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 ซีซี ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัสโดยจะสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า มีปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0x10 ( ยกกำลัง 9 )

ถ้าทำยาคูลท์ให้มีขนาดขวดใหญ่พอๆ กับยาคูทล์ 6 ขวดเล็กรวมกันแล้วละก็ คงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450 ซีซี ขึ้นมาจริงๆ แล้วลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้ แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคย

และถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษขึ้นได้ ทานวันล่ะขวดก็เพียงพอแล้วคนที่ไม่ทานเลยก็ไม่เป็นอะไร เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว อีกเรื่องที่ควรสังเกตเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่บริโภคยาคูลท์ก็คือ อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขาดและเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ใน อุณหภูมิต่ำกว่า 10องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ได้จุลินทรีย์ที่พร้อมจะทำงานให้เราได้ทันที

ที่มา : นิตยสาร A Day ฉบับที่ 12

แสง สว่างจากหิ่งห้อย เกิดจากสารลูซิเฟอร์รินไปรวมกับออกซิเจนในอากาศ และมีสารอีกตัวหนึ่ง คือ สารลูซิเฟอเรส เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสารทั้ง 2 ชนิดนี้ หิ่งห้อยจะเป็นตัวปล่อยออกมาโดยตรง แสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวาบๆ ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออก แสงจะดับ แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะมีปริมาณแสงสว่างที่น้อยมาก เพียง 1 ใน 1,000 จากเทียนไขธรรมดา เท่านั้นเอง โดยหิ่งห้อยทั้งตัวผู้และตัวเมีย จะใช้แสงของมันดึงดูดเพศตรงข้าม และบางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า แสงในตัวหิ่งห้อยมีได้ถึง 4 สี คือ สีเขียว สีเขียวแกมเหลือง เหลือง และสีส้ม ขึ้นอยู่กับสภาวะที่แตกต่างกัน


แบบทดสอบ: ทายนิสัยจาก..การเขียนตัวหนังสือ

ทายนิสัยจาก..การเขียนตัวหนังสือ

เขียนตัวหนังสือผอม
สำหรับคนที่เขียนตัวหนังสือที่มีลักษณะผอมสูงจนสามารถแลเห็นได้อย่างชัดเจนนั้น อุปนิสัยนั้นมักจะเป็นคนที่มีความอ่อนไหว จิตใจจะเปราะบางมาก ชอบชีวิตที่เรียบง่ายสบาย ๆ ที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก และค่อนข้างจะเป็นคนที่เก็บตัวอยู่ในโลกของตัวเองไม่ค่อยสนใจหรือเข้าไปวุ่นวายกับเรื่องคนอื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่ออกจะขี้อายไม่มีความมั่นใจในตัวเองนัก ทั้งยังถือสาในคำพูดของคนอื่นที่มีต่อตนเอง คนรอบข้างจะเข้ามามีอิทธิพลในชีวิตสูง

เขียนตัวหนังสือบาง
คนที่เขียนตัวหนังสือบางนั้น มีความแตกต่างจากตัวหนังสือแบบผอมสูงเพราะตัวหนังสือบาง หมายถึงเส้นที่เขียนจะเบา ไม่มีความหนักแน่นชัดเจนส่วนอุปนิสัยของคนที่มีลายมือแบบนี้ บ่งบอกถึงการเป็นคนที่ช่างคิดจนออกไปทางการเป็นคนคิดมาก แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะมีความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนติดจะขี้อายพอสมควรทีเดียว ให้พูดหรือแสดงออกท่ามกลางผู้คนจำนวนมากมักจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่จะชอบทำในสิ่งที่คุ้นเคยอยู่เสมอ ๆ

เขียนหนังสือตัวหนัก
สำหรับข้อนี้หมายถึงตัวหนังสือที่เวลาเขียนผู้เขียนจะกดเส้นลงหนักมากส่งผลให้ตัวหนังสือมีความชัดเจนเป็นอย่างดี ส่วนอุปนิสัยของคนที่มีลายมือลักษณะนี้ จะเป็นคนที่เชื่อมั่นในตัวเองมาก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่มีความสามารถด้วยเช่นกัน จึงไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นมากนักแต่จะเป็นคนที่สามารถวางแผนและ จัดการทุกเรื่องอย่างเป็นระบบระเบียบเสมอ มักมีเป้าหมายในชีวิตและค่อนข้างจะคาดหวังในชีวิตมาก ชอบการเป็นคนโดดเด่นและมีความสำคัญ

เขียนตัวหนังสือโต
ตัวหนังสือตัวโตหมายถึงตัวหนังสือที่มีขนาดใหญ่แต่จะมีขนาดของตัวอักษรที่สมดุลย์พอดีกันอย่างสม่ำเสมอทุกตัว สำหรับอุปนิสัยของคนที่มีลายมือเช่นนี้ บ่งบอกถึงการเป็นคนใจกว้างมีน้ำใจไมตรี สามารถเข้าได้กับคนทุกระดับ ชอบการมีคนรักใคร่ชอบพอมาก ๆและมีีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์อันคับขันเพราะจะเป็นคนที่มีความหนักแน่นเยือกเย็นอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่มีความรอบคอบ ถี่ถ้วนและไม่ชอบให้เกิดสิ่งที่ผิดพลาดกับตัวเองอีกด้วย

เขียนตัวหนังสืออ้วน
คนที่เขียนตัวหนังสืออกมาทางอ้วนหมายถึงตัวหนังสือที่มีขนาดความกว้างมากกว่าความยาวนั่นเอง ส่วนอุปนิสัยนั้นบ่งบอกถึงการเป็นคนมองโลกในแง่ดี ไม่เล่ห์เหลี่ยมใด ๆกับใครทั้งสิ้น ทั้งยังเป็นคนใจอ่อน ใจดีชอบช่วยเหลือเอื้อเฟื้อคนนั้นคนนี้อยู่เสมอจนบางทีตัวเองถึงกับเดือดร้อนอยู่บ่อย ๆ และเมื่อต้องตัดสินใจในเรื่องใดสักเรื่องจะมีความลังเลใจสูงทำให้คนที่ไม่ชอบรับผิดชอบเรื่องใหญ่ ๆ ที่ต้องใช้การตัดสินใจแบบเด็ดขาดแต่มักได้รับความเอ็นดูจากคนใกล้ชิดเสมอ

เขียนตัวหนังสือหวัด
สำหรับคนที่ลายมือหวัดเขียนตัวหนังสือติดพันกันแทบทุกตัว บ่งบอกถึงอุปนิสัยของการเป็นนักคิด นักวางแผนที่ดีแต่ถ้าให้ลงือปฏิบัติเองมักไค่อยประสบผลสำเร็จนอกจากนี้ยังเป็นคนที่เชื่อมั่นในความคิดของตัวเองมาก และมองการณ์ไกลทั้งยังมีอุดมการณ์ที่สูงส่ง แต่มักเป็นคนที่ไม่ชอบเปิดเผยตัวเองนัก ชอบอยู่ในโลกส่วนตัว และหมกมุ่นทำในสิ่งที่ชื่นชอบครั้งละนาน ๆ ในบางครั้งจะเป็นคนที่ใจร้อนกับเรื่องที่คนอื่นไม่ค่อยคาดคิดหรือคิดไม่ถึง ตัวหนังสือโย้เย้ค

คนที่เขียนตัวหนังสือเดี๋ยวตัวโตเดี๋ยวตัวเล็กไม่มีความสม่ำเสมอกันเลยนั้น
บอกถึงนิสัยของการเป็นเด็กไร้เดียงสา และไม่ค่อยคิดอะไรที่ซับซ้อนนัก และยังชอบตามใจตัวเองโดยไม่ค่อยคำนึงถึงจิตใจคนอื่นสักเท่าไร แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่ใจกว้าง เปิดเผยยอมรับความคิดของคนได้ง่าย แต่มักจะมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่เอาจริงเอาจังหรือลึกซึ้งกับสิ่งใดมากนัก โดยเฉพาะถ้าไม่ใช่สิ่งที่ตนชอบหรือสนใจและยังไม่ใช่คนที่มีเหตุผลอะไรเลย

เขียนหนังสือ
เป็นระเบียบคนที่เขียนหนังสืออย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เท่ากันทุกวรรค ทุกตอนบ่งบอกถึงนิสัยที่เป็นคนเอาจริงเอาจังกับการทำงาน และเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเป็นแม้ว่าจะมีความแตกต่างจากคนอื่น โดยไม่สนใจว่าใครจะคิดอย่างไรกับตน ทั้งยังเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูง และไม่ใช่คนที่ยอมแพ้กับอะไรง่าย ๆ จะมีความอดทนได้ยาวนานจนน่าประหลาดใจกับสิ่งที่ตนมุ่งมั่น นอกจากนี้ยังเป็นคนที่มีความมั่นคงในจิตใจสูงมากจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรง่ายๆ ถ้าไม่ใช่เรื่องร้ายมากนัก

เขียนตัวหนังสือเฉียงขึ้น
คนที่เขียนหนังสือโดยตัวหนังสือจะค่อย ๆ เฉียงขึ้นทุกทีนั้น บ่งบอกถึงการเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในชีวิตสูงมาก และมีความอดทนพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะค่อย ๆไต่เต้านำพาชีวิตของตนให้ไปสู่จุดสูงสุดที่มั่นคงปลอดภัยและเหนือกว่าคนอื่นทั้งยังเป็นที่ให้ค่ากับเรื่องของวัตถุค่อนข้างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็จะเป็นคนที่ยื่นอยู่บนความเป็นจริงของชีวิต ไม่มีความซับซ้อนอะไรมากนัก สิ่งใดถูกก็คือถูกและผิดก็คือผิด และจะเชื่อมั่นในความคิดเช่นนี้โดยไม่สนใจรายละเอียดใด ๆ เขียนตัวหนังสือเฉียงลง

ส่วนคนที่เขียนตัวหนังสือในลักษณะที่ทะแยงลงจากระดับของบรรทัดนั้น
มักเป็นคนที่มีชีวิตอยู่ในวันนี้หรือในปัจจุบันมากกว่าที่จะคิดคำนึงไปถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และมีความพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ชอบใช้ชีวิตแบบง่าย ๆไม่มีระเบียบแบบแผนอะไรมากนัก ทั้งยังไม่ใช่คนที่ทะเยอทะยานอะไรเลยแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นคนที่ชื่นชมชีวิต มีความสุขได้จากทุกสิ่งรอบตัวและมีน้ำใจเข้ากับผู้คนได้ทุกระดับ และยังชอบหยิบยื่นมิตรภาพแก่ทุกคนเขียนตัวหนังสือเป็นเหลี่ยม

ส่วนคนที่เขียนตัวหนังสือมีลักษณะเป็นเหลี่ยมเป็นมุมอย่างชัดเจนนั้น
บ่งบอกถึงนิสัยที่เชื่อมั่นในความคิดของตนอย่างรุนแรง จนออกไปทางคนที่แข็งกระด้าง และไม่ยอมรับความคิดของใครโดยง่ายนอกจากนี้ยังเป็นคนที่เอาจริงเอาจังเคร่งเครียดไปเสียแทบทุกเรื่องทั้งยังเป็นคนเจ้าระเบียบมองโลกแต่ในแง่ร้าย ทำให้หวาดระแวงคนง่ายไม่ค่อยมีความสุขในชีวิตเท่าที่ควรเขียนตัวหนังสือมน

ส่วนคนที่เขียนตัวหนังสือออกมาทางมน ๆ กลม ๆ
นั้นบ่งบอกถึงนิสัยของการเป็นคนที่มองโลกในแง่ดี ชอบแสวงหาความรื่นรมย์ให้ชีวิต ทั้งยังเป็นคนใจดี ใจอ่อน ชอบการรับใช้บริการ และตามอกตามใจคนรอบข้าง นอกจากนี้ยังเป็นคนที่ปรับตัวเก่ง สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เร็ว ทั้งยังเป็นคนที่มีความอิสระในตัวเองสูง ไม่ชอบการโดนจำกัดให้อยู่ในกรอบความคิดใดความคิดหนึ่งเท่านั้น จึงสามารถยอมรับความคิดของคนได้โดยง่าย เขียนตัวหนังสือเล่นหาง

สำหรับคนที่เขียนตัวหนังสือที่ลักษณะตวัดมีหางมาก ๆ นั้น
บ่งบอกถึงนิสัยของการเป็นคนช่างฝัน และโรแมนติค ชอบในเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ จนดูเหมือนคนเจ้าชู้ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่อารมณ์ปรวนแปรรวดเร็ว มีความต้องการในเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียงสูง ชอบชีวิตที่มีสีสันหวือหวาให้ตื่นเต้นเร้าใจอยู่เสมอ ชอบการพบปะกับผู้คน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีแต่เป็นที่ไม่ระเบียบแบบแผนในชีวิตเท่าที่ควร
http://www.2-teen.com/community/viewthread.php?tid=18258&extra=page%3D4

ประวัติเพลงพระราชนิพนธ์




เพลงพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปรีชาญาณในเรื่องของดนตรี กีฬา พระองค์ทรงเป็นนักประพันธ์ชั้นครู ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไว้มากมาย มีความไพเราะเป็นยิ่งนักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ทำนองเพลงตั้งแต่ยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช รวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งสิ้น 48 เพลง เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เอง มี 5 เพลง คือ "Echo", "Still on My Mind", "Old-Fashioned Melody", "No Moon" และ "Dream Island" นอกจากนี้ มี 2 เพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ทำนองขึ้นภายหลังใส่ในคำร้องที่มีผู้ประพันธ์ไว้แล้ว คือ "ความฝันอันสูงสุด" และ "เราสู้"




ผู้ที่โปรดเกล้าฯ ให้แต่งคำร้องประกอบเพลงพระราชนิพนธ์มีหลายท่าน ได้แก่ หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์, ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร, ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, นายจำนงราชกิจ (จรัล บุณยรัตพันธุ์), ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ม.ล.ประพันธ์สนิทวงศ์ และท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นต้น




ในยุคแรก หลังจากที่เพลงพระราชนิพนธ์มีทำนองและคำร้องสมบูรณ์แล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ครูเอื้อ สุนทรสนาน นำไปบรรเลงในวงดนตรีกรมโฆษณาการหรือวงสุนทราภรณ์ เพื่อให้แพร่หลายทั่วไป ปรากฏว่าหลายเพลงกลายเป็นเพลงยอดนิยมทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ




ในระยะหลังพระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมาย ทำให้พระองค์ทรงไม่มีเวลาที่จะทรงพระราชนิพนธ์เพลงใหม่ๆออกมา เพลงสุดท้ายที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ออกมาคือเพลง "เมนูไข่" เป็นเพลงแนวสนุกสนาน เนื้อร้องโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเป็นของขวัญวันพระราชสมภพครบ 72 พรรษาแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2538




เพลงพระราชนิพนธ์มีทั้งหมด 48 เพลง




1. แสงเทียน (Candlelight Blues)


2. ยามเย็น (Love at Sundown)


3. สายฝน (Falling Rain)


4. ใกล้รุ่ง (Near Dawn)


5. ชะตาชีวิต (H.M. Blues)


6. ดวงใจกับความรัก (Never Mind the Hungry Men's Blues)


7. มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March)


8. อาทิตย์อับแสง (Blue Day)


9. เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You)


10. คำหวาน (Sweet Words)


11. มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn)


12. แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart)


13. พรปีใหม่ 14. รักคืนเรือน (Love Over Again)


15. ยามค่ำ (Twilight) 16. ยิ้มสู้ (Smiles)


17. มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March)


18. เมื่อโสมส่อง (I Never Dream)


19. ลมหนาว (Love in Spring)


20. ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag)


21. Oh I say


22. Can't You Ever See


23. Lay Kram Goes Dixie


24. ค่ำแล้ว (Lullaby)


25. สายลม (I Think of You)


26. ไกลกังวล (When), เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย


27. แสงเดือน (Magic Beams)


28. ฝัน (Somewhere Somehow), เพลินภูพิงค์


29. มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March)


30. ภิรมย์รัก (A Love Story)


31. Nature Waltz


32. The Hunter


33. Kinari Waltz


34. แผ่นดินของเรา (Alexandra)


35. พระมหามงคล


36. ยูงทอง


37. ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)


38. เตือนใจ (Old-Fashioned Melody)


39. ไร้เดือน (No Moon), ไร้จันทร์


40. เกาะในฝัน (Dream Island)


41. แว่ว (Echo)


42. เกษตรศาสตร์


43. ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream)


44. เราสู้


45. เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21)


46. Blues for Uthit


47. รัก


48. เมนูไข่










วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติเพลงรำวงมาตรฐาน

รำวงมาตรฐาน ในปัจจุบันนี้เป็นศิลปะแห่งการรำวงที่งดงาม ซึ่งในสมัยก่อนยังมิได้มีคำว่า "มาตรฐาน" จะเรียกกันเพียงว่า "รำวง" เท่านั้น การรำวงนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งที่บ่อบอกถึงความสนุกสนาน การเล่นรำวงนั้นสืบเนื่องมาจากการเล่นรำโทน นั้นเพราะในสมัยก่อนเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ประกอบจังหวะก็คือ โทน ฉิ่ง และกรับ โดยจังหวะการฟ้อนรำจะมีเสียงโทนเป็นเสียงหลักตีตามจังหวะหน้าทับ จึงเรียกกันว่า "รำโทน" ในด้านของบทร้องจะเป็นบทร้องที่มีภาษาเรียบง่าย ไม่พิถีพิถันในเรื่องถ้อยคำและสัมผัสวรรคตอนแต่อย่างใด ตามลักษณะของเพลงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงจะออกมาในลักษณะกระเซ้าเย้าแหย่ การเกี้ยวพาราสีหยอกล้อของหนุ่มสาว การเชิญชวน ตลอดจนการชมโฉมความงามของหญิงสาว เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อความสนุกสนานในการเล่น ในเรื่องของเครื่องแต่งกายในสมัยก่อนก็ไม่เน้นถึงความพิถีพิถันมากนัก เน้นเพียงความสะดวกสบายของชาวบ้านเอง ไม่ได้ประณีตแต่อย่างใด

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 ชาวบ้านนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุความนิยมเป็นอย่างมากนี้เองจึงได้มีผู้คิดแต่งบทร้องและทำนองขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้ก็ยังคงจังหวะหน้าทับของโทนไว้เช่นเดิม ส่วนเนื้อร้องใดที่นิยมก็จะร้องกันอยู่ได้นาน เพลงใดเนื้อร้องไม่เป็นที่นิยมก็จะไม่นำมาร้องเท่าใดนักและก็จะเป็นที่ลืมเลือนไปในที่สุด จากนั้นก็จะมีเนื้อเพลงใหม่ ๆ ขึ้นมาแทนที่

ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2484 - 2488 เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นที่ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เพื่อเจรจาขอตั้งกองทัพในประเทศไทย โดยใช้เส้นทางต่าง ๆ ในแผ่นดินไทยลำเรียงเสบียงอาหาร อาวุธและกำลังพล เพื่อใช้ในการต่อสู้กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมี จอม พล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตัดสินใจยอมให้ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพราะเกรงว่าหากปฏิเสธคงจะถูกปราบปรามแน่ ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากการรุกรานของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีฐานทัพญี่ปุ่นทางอากาศโดยเฉพาะในยามที่เป็นคืนเดือนหงาย จะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ข้าศึกมักจะเข้ามาโจมตีอย่างหนักด้วยการทิ้งระเบิด ซึ่งสร้างความเสียหายทำลายชีวิตและทรัพย์สินบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น

เมื่อช่วงคืนเดือนหงายผ่านไป คืนเดือนมืดเข้ามา ข้าศึกจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ไม่ชัดเจนจึงพักการรุกราน ประชาชนชาวไทย ได้รับความเดือนร้อน ต่างอยู่ในสถานการณ์ที่หวาดกลัวเป็นอย่างมาก จึงได้หาวิธีการผ่อนคลายความตึงเคลียด ความหวาดผวา ด้วยการนำศิลปะพื้นบ้านที่ซบเซาไป กลับมาร้องรำทำเพลง นั้นก็คือ "การเล่นรำโทน" คำร้อง ทำนองและการแต่งกาย ก็ยังคงเรียบง่ายเน้นความสะดวกสบาย สนุกสนาน เช่นเดิม เพลงที่นิยมได้แก่ เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ช่อมาลี ตามองตา ยวนยาเหล เป็นต้น

ต่อมารัฐบาลได้เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทยที่มีอยู่อย่างแพร่หลายควรที่จะเชิดชูให้มีระเบียบแบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทย เพราะหากชาวต่างชาติมาพบเห็นจะตำหนิได้ว่าศิลปะการฟ้อนรำของไทยนี้มิได้มีความสวยงาม ประณีตแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีศิลปะที่แสดงออกว่าเป็นชาติที่มีวัฒนธรรม จึงได้มอบให้ กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำ (รำโทน) ขึ้นใหม่ให้มีระเบียบ แบบแผน มีความงดงามมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเนื้อร้อง ทำนอง ตลอดจนเครื่องแต่งกาย

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่ 4 บทคือ " เพลง งามแสงเดือน" "เพลงชาวไทย" "เพลงรำซิมารำ" "เพลงคืนเดือนหงาย" ต่อมาท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องขึ้นมาใหม่อีก 6 บท คือ " เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ" "เพลงดอกไม้ของชาติ" "เพลงหญิงไทยใจงาม" "เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า" "เพลงยอดชายในหาญ" "เพลงบูชานักรบ" ในด้านทำนองนั้นรับผิดชอบโดยกรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ ส่วนท่ารำนั้นนาฏศิลปินอาวุโสของกรมศิลปากร คือ จมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันท์) และนางลมุล ยมะคุปต์ ร่วมกันคิดท่ารำขึ้นประกอบการรำโดยนำท่ารำมาจากการรำ "แม่บท" และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกการ "รำโทน" เป็น "รำวง" ตามลักษณะของการเล่น ซึ่งวิธีการเล่นนั้นจะเล่นรวมกันเป็นวง และเคลื่อนย้ายเวียนกันไปเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา

เพลงของรำวงมาตรฐาน
1. เพลงงามแสงเดือน(ท่าสอดสร้อยมาลา)
2. เพลงชาวไทย(ท่าชักแป้งผัดหน้า)
3. เพลงรำมาซิมารำ(ท่ารำส่าย)
4. เพลงคืนเดือนหงาย(ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง)
5. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ(ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลงเพียงไหล่)
6. เพลงดอกไม้ของชาติ(ท่ารำยั่ว)
7. เพลงหญิงไทยใจงาม(ท่าพรหมสี่หน้า และนกยูงฟ้อนหาง)
8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า(หญิงท่าช้างประสานงา ชายท่าจันทร์ทรงกลด)
9. เพลงยอดชายใจหาญ(หญิงชะนีร่ายไม้ ชายท่าจ่อเพลิงกาล)
10. เพลงบูชานักรบ(เที่ยวที่ 1หญิงท่าขัดจางนาง ชายท่าจันทร์ทรงกลด) (เที่ยวที่ 2หญิงท่าล่อแก้ว ท่าขอแก้ว)

http://www.yes-iloveyou.com/smfboard/index.php?topic=1902.0

~~~~ประวัติเพลง ลาวดวงเดือน~~~~

โอ้ละหนอ...ดวงเดือนเอย... ข้อยมาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง..."


เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะ อันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้ และจะเป็นเพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไป แต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ทราบ ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕



พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ



นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง และยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ พระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน



ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาท์ยประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียกว่า วงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกันกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม



นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์ เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดี พระองค์หนึ่งด้วย ทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอ พระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมาก เพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวล เห็นภาพพจน์บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ



ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่ อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมลฑลพายัพ ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์ อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด้จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วย



ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้อง และพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ ปรากฎว่ามีเจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่าวกันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้า จนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ ด้ยยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว



พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึง ในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!! ในวันต่อมา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมลฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง เจ้าหญิชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน



นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่นเป็ยนิ่งนัก พระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์ แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนีมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริ์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น



เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย คงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์



ครั้นถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านาชั้นผู้ใหญ่หลาพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างต่าง นานา เป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ



คราใดสายลมเหนือพัดมา... พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น... เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหม ทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษ เพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ว่า



อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี

พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร

งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน

ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย



บทร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาส ของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้...



โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง

โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย

ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม

จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอยหอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย

หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย....เอ๋ย..เราละหนอ



โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ

โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอย

เห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมน

พี่จะทนทุกข์...ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือน

เอยเสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย

ถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย...เราละหนอ...

นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง คราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย ลาวเจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน กรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอีดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยมบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนมชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกาน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

เพลงลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียว ลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้ เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง... พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้าหญิงชมชื่นผู้เลอโฉม และจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน...



http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dragon-heart&month=10-2006&date=20&group=3&gblog=2

ประวัติเพลงชาติไทย

นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์)


เพลงชาติไทยแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถือเป็น เพลงชาติไทยลำดับที่ 7 ซึ่งประกาศใช้ในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย รัฐนิยมฉบับที่ 6 เมื่อ วันที่ 10 ธันวาคม 2482 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) หรือชื่อเดิม ปีเตอร์ ไฟท์ (Peter Feit) ตั้งแต่ ปี 2475 ประพันธ์เนื้อร้องโดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ก่อนหน้านั้นมี เพลงชาติไทย ใช้มาแล้ว 6 เพลง เริ่มต้นระหว่าง ปี 2395 – 2414 ใช้ทำนองเพลง God Save the Queen ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ หมด ดังนั้นเพลง กอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. 2395 ถึง 2414 เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ เป็นเพลงเกียรติยศถวายความเคารพ แด่องค์พระมหากษัตริย์โดยเรียกว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ


แต่ต่อมาเมื่อ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นใหม่แล้วเรียกชื่อว่า เพลงจอมราชจงเจริญ นั่นแหละจึงถือเป็น เพลงชาติลำดับที่ 1 “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”


ในยุค รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในปี พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงคโปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้น ของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาต ิที่มีความเป็นไทย มาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบัน หรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสม เด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็น สากลขึ้น โดย เฮวุดเซน (Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. 2414-2431


เพลงชาติลำดับที่ 3 นั้นเกิดขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยประพันธ์ทำนองโดย นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) คำร้องเป็นบทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่าง ปี 2431 – 2475 ใช้มายาวนานเพราะมี ท่วงทำนองไพเราะ เนื้อหาสมบูรณ์ และทุกวันนี้ก็ใช้อยู่ในนามของ เพลงสรรเสริญพระบารมี นั่นเอง


เพลงชาติลำดับที่ 4 เกิดขึ้นภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (24 มิถุนายน 2475) แล้ว เพลงชาติลำดับนี้เป็นเพลงชาติชั่วคราว (เนื่องจากมีการเตรียมการโดยสังเขปที่จะสร้างเพลงชาติขึ้นมาใหม่ โดยสมาชิกของคณะผู้ก่อการท่านหนึ่งมอบหมายให้ พระเจนดุริยางค์ เป็น ผู้ประพันธ์ แต่ยัง ไม่เสร็จ เลยต้องใช้ทำนองเพลงไทยเดิม คือเพลงมหาชัย ไปพลางก่อน) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เสนาบดีกระทรวงธรรมการเป็นผู้ ประพันธ์เนื้อร้อง ซึ่งมีเนื้อหาปลุกใจให้คนไทยเกิดความรักชาติ และเกิดความสามัคคี ตลอดจนให้เลื่อมใสในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้


ยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ

ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย

เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน ธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่

ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า


ยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน ธรรมนูญสถาปนาพรรษาใหม่ ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดินฟ้า


เพลงชาติลำดับที่ 5 ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 2475 และประพันธ์เนื้อร้องโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) บรรเลงครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม 2475 แต่ก็ใช้อยู่เพียงระหว่าง ปี 2475 – 2477 โดยมีเนื้อร้องดังนี้


แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า

สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา ร่วมรักษาเอกราชชนชาติไทย

บางสมัยศัตรูจู่มารบ ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่

ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของชาติไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า

เอกราชคือกระดูกที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ

ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสรเสรี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เชิดชัย ชโย


กำเนิดของเพลงชาติลำดับที่ 6 นั้น สืบเนื่องมาจากการที่ในปีพุทธศักราช 2477 รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน และมีกรรมการท่านอื่นร่วมด้วยดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์ พระเจนดุริยางค์ หลวงชำนาญนิติเกษตร จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะ ผลการตัดสินปรากฎว่า มีเพลงชาติแบบไทย และแบบสากล อย่างละเพลงคือ แบบไทยได้แก่เพลงชาติของจางวางทั่ว พาทยโกศลที่แต่งขึ้นจากเพลงไทยเดิมชิ่อว่า “ตระนิมิตร”


ส่วนทางสากลได้แก่ เพลงของ พระเจนดุริยางค์ ที่แต่งไว้แล้ว ในเวลาต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ ได้พิจารณาว่า เพลงชาตินั้นควรจะมีลักษณะ ที่บ่งบอกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีสองเพลงอาจทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ลดลง จึงร่วมกันพิจารณาใหม่ ในที่สุดตกลงว่าให้มีทางสากลเพลงเดียวคือ แบบทำนองสากลของพระเจนดุริยางค์ จึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ คณะกรรมการได้สรุปผลให้บทร้องของนายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา ได้รับรางวัล และตัดสินให้บทร้องของขุนวิจิตรมาตราได้รับรางวัลชนะเลิศ


บทร้องที่คณะกรรมการคัดเลือกมีดังนี้ บทของนายฉันท์ ขำวิไล


เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม

ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา

แม้ถึงไทยไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า

ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี

เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้

ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสระเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย

จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย

มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายอยู่มุ่งหมายเชิดชัย ไชโย


บทของขุนวิจิตรมาตรา


แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า

สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย

บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่

เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า

เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ

รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้

เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไท ไชโย


ในปีพุทธศักราช 2482 มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาเป็น “ไทย” ทำให้จำต้องแก้ไขบทร้องในเพลงชาติด้วย รัฐบาลจึงได้จัดประกวดบทร้องเพลงชาติไทยขึ้นใหม่ผลการประกวด ปรากฎผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งเข้าประกวดในนามกองทัพบก และให้ใช้ทำนองขับร้องเพลงชาติไทย ของพระเจนดุริยางค์ ตามแบบที่มีอยู่เดิม (ดังได้กล่าวแล้วในย่อหน้าแรก) กลายเป็นเพลงชาติลำดับที่ 7 (ปัจจุบัน) ซึ่งมีเนื้อร้องดังนี้


“ ประเทศไ ทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย ”


พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ มีความปราบปลื้มและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับได้สั่งเสียบุตร ธิดา ไว้ว่า “ฉันได้สั่งบุตรธิดาของฉันไว้ทุกคนว่า ในกาลภายหน้าเมื่อถึงวาระที่ฉันจะต้องเกษียณอายุลาโลกไปแล้ว ขณะใกล้จะขาดอัสสาสะ ขอให้หาจานเสียงเพลงชาติอันนี้ มาเปิดให้ฟังให้จงได้ เพื่อบังเกิดความชุ่มชื่นระรื่นใจ อันไม่มีเสื่อมคลายตราบสิ้นปราณ”


โน้ตเพลงชาติไทย ปัจจุบัน - - ด ด- - ม ซ- - - ซ- - ซ ล- - ท ด- - ร ม- - - ม - - ม ม- - ร ด- - ล ซ- - ล ท- - ด ม- - ด ร- - ด ด - - - ด- - ด ด- - ด ด- - ม ซ- - - ซ- - ซ ล- - ซ ฟ - - ล ซ- - - -- - ม -- - - ม- - ฟ ม- - - ร- - - - - - - ร- - ม ร- - ด ด- - - -- - - ด- - ม ซ- - - ซ - - ซ ล- - ซ ฟ- - ล ซ- - - -- - - -- - - ซ- - ล ท - - ซ ร- - - -- - ร ล- - ท ล- - - -- - - ซ- - - ซ - - ล ซ- - ฟ ร- - - -- - - ฟ- - ล ซ- - ม ด- - - - - - - ด- - ม ร- - - ร- - ร ล- - - ท- - ล ซ- - - - - - - -- - ด ด- - ม ซ- - - ซ- - ซ ล- - ท ด- - ร ม - - - -- - - -- - ร ด- - ล ซ- - ล ท- - ด ม- - ด ร - - ด ด- - - -- - - -


ประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมี

ประวัติเพลงสรรเสริญพระบารมี

เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น

แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการใช้เพลง God Save the Queen ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "เพลงจอมราชจงเจริญ"จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง God Save the Queen บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง God Save the Queenคณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 จนถึง พ.ศ. 2431 (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6

ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับที่เป็นผลงานของ ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกันต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า ฉะนี้ ให้เป็น ชโย และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว

เพลงสรรเสริญพระบารมี

ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกรานนบพระภูมิบาล
บุญดิเรกเอกบรมจักริน พระสยามินทร์พระยศยิ่งยง
เย็นศิระเพราะพระบริบาลผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใดจงสฤษดิ์ดัง
หวังวรหฤทัยดุจถวายชัย ชโย

http://itd.htc.ac.th/st_it51/it5114/Website/

เพลงปลุกใจ


ต้นตระกูลไทย

(สร้อย) ต้นตระกูลไทยใจท่านเหี้ยมหาญ รักษาดินแดนไทยไว้ให้ลูกหลาน สู้จนสูญเสีย แม้ชีวิตของท่าน เพื่อถนอมบ้านเมืองไว้ให้เรา ลุกขึ้นเถิดพี่น้องไทย อย่าให้ชีวิตสูญเปล่า รักชาติยิ่งชีพของเรา เหมือนดังพงศ์เผ่าต้นตระกูลไทย
(สร้อย)ท่านพระยารามผู้มีความแข็งขัน สู้รบป้องกันมิได้ยอมแพ้พ่าย พระราชมนูทหารสมัยกู้ชาติ แสดงความสามารถได้ชัยชนะมากหลายเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ท่านเป็นแม่ทัพชั้นเอกของสมเด็จพระนารายณ์ สีหราชเดโช ผจญสงครามใหญ่โตต่อตีศัตรูแพ้พ่าย เจ้าคุณพิชัยดาบหัก ผู้กล้าหาญยิ่งนัก ล้วนเป็นต้นตระกูลไทย
(สร้อย)หมู่บุคคลสำคัญ หัวหน้าชาวบางระจัน ที่เราหาชื่อได้ นายแท่น นายดอก นายอินทร์ นายเมือง ขุนสวรรค์พันเรือง นายทองแสงใหญ่ นายโชติ นายทองเหม็น ท่านพวกนี้ล้วนเป็นผู้กล้าหาญชาญชัย นายจันหนวดเขี้ยว กับ นายทองแก้ว ทำชื่อเสียงเพริดแพร้ว ไว้ลายเลือดไทย ชาวบางระจันสำคัญยิ่งใหญ่ เป็นต้นตระกูลไทย เป็นต้นตระกูลของไทยที่ควรระลึกตลอดกาล
(สร้อย)องค์พระสุริโยทัย ยอดยิ่งหญิงไทย สละพระชนม์เพื่อชาติ ท้าวเทพสตรี ท้าวศรีสุนทร ป้องกันกลางนคร ไว้ด้วยความสามารถ ท้าวสุรนารี ผู้เป็นนักรบสตรีกล้าหาญองอาจ ป้องกันอีสานต้านศัตรูของชาติ ล้วนเป็นสตรีสามารถ ต้นตระกูลไทย

ตื่นเถิดชาวไทย

(สร้อย) ตื่นเถิดชาวไทย อย่ามัวหลับไหลลุ่มหลง ชาติจะเรืองดำรง ก็เพราะเราทั้งหลายถ้ามัวหลับมัวหลง เราก็คงมลายเราต้องเร่งขวนขวาย ตื่นเถิดชาวไทย บ้านเมือง ยามเฟื่องฟุ้งรุ่งเรือง ก็อย่าลืมขวนขวาย เราจะพากันตาย จำไว้เถอะสหาย ตื่นเถิดชาวไทย(สร้อย) ...............................ชาติไทย เราไม่น้อมยอมใคร จะสู้จนชีพสลาย หวังผดุงแหลมทอง เราพี่น้องหญิงชาย อย่าให้ชาติสูญหาย ตื่นเถิดชาวไทย(สร้อย) ...............................


ตื่นเถิดไทย
(หมู่ ช.) เราเผ่าไทย ต่างคนจากแดนไกล ต่างมารวมใจสามัคคีทุกหมู่เหล่า พวกเราพร้อมพรั่ง
(หมู่ ญ.) งานถิ่นเรา ถิ่นไทยในแดนทอง แหล่งดีคนปอง ไทยเข้าครองต้องรวมกัน ผูกพันรักเก่า
(หมู่ ช.) โบราณนานมาชาติไทยแกร่งเกรียงไกรกล้า ฝ่าฟันมาทุกเวลาไม่หวั่น
(หมู่ ญ.) พรั่นพรึงอันตราย ผ่านความลำเค็ญ ร้อนเย็นมิหน่าย ทอดกายเป็นชาติพลี
(หมู่ ช. + ญ.) ตื่นเถิดไทย มาพร้อมใจน้องพี่ เราเลือดไทยเสรี ปฐพีรักยิ่ง ตื่นเถิดไทย จงพร้อมใจทุกฝ่าย เรามิยอมแพ้พ่ายศัตรูร้ายมุ่ง(หมู่ ช.) โบราณนานมาชาติไทยแกร่งเกรียงไกรกล้า ฝ่าฟันมาทุกเวลาไม่หวั่น
(หมู่ ญ.) พรั่นพรึงอันตราย ผ่านความลำเค็ญ ร้อนเย็นมิหน่าย ทอดกายเป็นชาติพลี
(หมู่ ช. + ญ.) ตื่นเถิดไทย มาพร้อมใจน้องพี่ เราเลือดไทยเสรี ปฐพีรักยิ่ง ตื่นเถิดไทย จงพร้อมใจทุกฝ่าย เรามิยอมแพ้พ่ายศัตรูร้ายมุ่ง(หมู่ ช. + ญ.) ตื่นเถิดไทย มาพร้อมใจน้องพี่ เราเลือดไทยเสรี ปฐพีรักยิ่ง ตื่นเถิดไทย จงพร้อมใจทุกฝ่าย เรามิยอมแพ้พ่ายศัตรูร้ายมุ่ง



ไทยรวมพลัง

ไทยรวมกำลังตั้งมั่น จะสามารถป้องกันขันแข็ง ถึงแม้ว่าศัตรูผู้มีแรง มายึดแย่งก็จะพินาศไป ขอแต่เพียง ไทยเรา อย่าผลาญชาติ ร่วมชาติ ร่วมจิต เป็นข้อใหญ่ ไทยอย่า มุ่งร้าย ทำลายไทย จงพร้อมใจ พร้อมกำลัง ระวังเมือง ให้นานา ภาษา เขานิยม ชมเกียรติยศ ฟูเฟื่อง ช่วยกันบำรุงความรุ่งเรื่อง ให้ชื่อไทย กระเดื่อง ทั่วโลกา ช่วยกัน เต็มใจ ใฝ่ผดุง บำรุง ทั้งขาติ ศาสนา ให้อยู่ จนสิ้นดินฟ้า วัฒนา เถิดไทย ไชโย (ร้องซ้ำทั้งเพลง)


บ้านเกิดเมืองนอน

บ้านเมืองเรารุ่งเรืองพร้อมอยู่ทุกหมู่เหล่า พวกเราล้วนพงศ์เผ่าศิวิไลเพราะฉนั้นชวนกันยินดีเปรมปรีดิ์ดีใจ เรียกว่าคนไทย แดนดินผืนใหญ่มิใช่ทาสเขาก่อนนี้มีเขตแดนนับว่ากว้างใหญ่ ได้ไว้พลีเลือดเนื้อแลกเอารบ ๆ ๆ ๆ ไม่หวั่นใครมอบความเป็นไทยให้พวกเรา แต่ครั้งนานกาลเก่าชาติเราเขาเรียกชาติไทยบ้านเมืองควรประเทืองไว้ดั้งแต่ก่อน แน่นอนเนื้อและเลือดพลีไปเพราะฉนั้นเราควรมีความยินดีมีความภูมิใจ แดนดินถิ่นไทยรวบรวมไว้ได้แสนจะยากเข็ญยากแค้นเคยกู้แดนไว้อย่างบากบั้น ก่อนนั้นเคยแตกสานซ่านเซ็นแม้กระนั้นยังร่วมใจช่วยกันรวมไทยให้ร่มเย็น บัดนี้ไทยดีเด่นร่มเย็นสมสุขเรื่อยมาอยู่กินบนแผ่นดินท้องถิ่นกว้างใหญ่ ชาติไทยนั้นเคยใหญ่ในบูรพามา ๆ เข้าเราดูธงไทยใจจงปรีดา ว่าไทยอยู่มาด้วยผาสุกถาวรสดใสบัดนี้ไทยเจริญวิสุทธิ์ผุดผ่อง พี่น้องจงแซ่ซ้องชาติไทยรักกันไว้ให้มั่นคงเทิดธงไตรรงค์ให้เด่นไกล ชาติเชื้อเรายิ่งใหญ่ชาติไทยบ้านเมืองนอน

แหลมทอง

(สร้อย) แหลมทองไทยเข้าครองเป็นแดนไทย รักกันไว้เราพวกไทยในแดนทองแหลมทองเข้าครองเป็นแดนไทย แล้วย้ายแยกแตกกันไปเป็นสาขาไทยสยามอยู่แม่น้ำเจ้าพระยา และปิงวังยมน่านนที
(สร้อย)โขงสาครไทยก็จองครองที่ดิน สาละวินไทยใหญ่อยู่เป็นที่ไทยอิสลามอยู่ลำน้ำตานี ต่อลงไปไทยก็มีอยู่เหมือนกัน
(สร้อย)ขอพวกเราชาวไทยของแดนทอง หมายใจปองผู้กรักสมัครมั่นไทยสยามมุ่งจิตคิดสัมพันธ์ ผู้ไมตรีทั่วกันในแหลมทอง
(สร้อย)

รักกันไว้เถิด
( ช + ญ) (สร้อย) รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหนๆ ก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณีไทย ไม่มีขีดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้น ปวงชนทุกคนคือไทย
(หมู่ ช + ญ ) ท้องถิ่นแหลมทอง เหมือนทองของแม่ เกิดถิ่นเดียวกันแท้ เหมือนแม่เดียวกันใช่ไหมยามฉันมองตาคุณ อบอุ่นดวงใจ เห็นสายเลือดไทย ในสายตาบอกสายสัมพันธ์
(หมู่ ช + ญ )(สร้อย) รักกันไว้เถิด..............
(หมู่ ญ. )ทะเลแสนงาม ในน้ำมีปลา พืชพันธุ์ดื่นดาษดา ไร่นารวงทองไสว สินทรัพย์มีเกลื่อนกล่น บรรพชนให้ไว้ เราลูกหลานไทย จงร่วมใจรักษาให้มั่น
(หมู่ ช + ญ )(สร้อย) รักกันไว้เถิด...
(หมู่) แหลมทองโสภา ด้วยบารมี ปกเกล้าเราไทยนี้ ร่มเย็นเป็นศรีผ่องใส ใครคิดบังอาจหมิ่น ถิ่นทององค์ไท เราพร้อมพลีใจ ป้องถิ่นไทยและองค์ราชันย์
(หมู่ ช + ญ )(สร้อย)... รักันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหนๆ ก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณีไทย ไม่มีขีดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้น ปวงชนทุกคนคือไทย (ซ้ำ.. )เกิดใต้ธงไทยนั้น ปวงชนทุกคนคือไทย


หนักแผ่นดิน
(สร้อย) หนักแผ่นดิน หนักแผ่นดิน คนเช่นนี้เป็นคนหนักแผ่นดินคนใดใช้ชื่อไทยอยู่ กายก็ดูเหมือนไทยด้วยกันได้อาศัยโพธิ์ทองแผ่นดินของราชันย์ แต่ใจมันยังเฝ้าคิดทำลายคนใดให้ไทยเป็นทาส ดูถูกชาติเชื้อชนถิ่นไทยแต่ยังฝังทำกินกอบโกยสินไทยไป เหยียดคนไทยเช่นทาษของมัน
(สร้อย)คนใดยุยงปลุกปั่นไทยด้วยกันหวังให้แตกกระจายปลุกระดมมวลชนให้สับสนวุ่นวาย เพื่อคนไทยแบ่งฝ่ายรบกันเองคนใดหลงชมชาติอื่น ชาติเดียวกันเขายืนข่มเหงได้สินทรัพย์เจือจางประหารไทยกันเอง ที่ชาติอื่นเกรงดังญาติของมัน
(สร้อย)คนใดขายตนขายชาติ ได้โอกาสชี้ทางให้ศัตรูเข้าทลายพลังไทยให้สลายมางสู้ เมื่อศัตรูโจมจู่เสียทีมันคนใดคิดร้ายราวี ประเพณีของไทยไม่ต้องการเกื้อหนุนอคติเชื่อลัทธิอันทะพาล แพร่นำมันมาบ้านเมืองเรา

เพลงรักเมืองไทย
(สร้อย) รักเมืองไทย ชูชาติไทย ทะนุบำรุงให้รุ่งเรืองสมเป็นเมืองของไทยเราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ)
ไม่เคยอ่อนน้อมเราไม่ยอมแพ้ใคร ศัตรูใจกล้ามาแต่ทิศใด ถ้าข่มเหงไทย คงจะได้เห็นดี

(สร้อย)เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ)
เรารักเพื่อนบ้าน เราไม่รานรุกใคร แต่รักษาสิทธิ์ อิสระของไทย ใครทำซ้ำใจ ไทยจะไม่ถอยเลย

(สร้อย )เราชาวไทยเกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (ซ้ำ)
ถ้าถูกข่มเหงเราไม่เกรงผู้ใด ดังงูตัวนิดมีพิษเหลือใจเรารักเมืองไทย ยิ่งชีพเราเอย


http://kamponn.multiply.com/journal/item/44/44

ประวัติเพลงปลุกใจ


เพลงปลุกใจ รวมอยู่ในประเภทบทเพลงหรือดนตรีที่ให้คุณต่อมนุษย์ด้านสังคมเกี่ยวข้องในด้านสังคม มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน โดยใช้เครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าทั้งเครื่องลมไม้และเครื่องทองเหลือง รวมถึงกลุ่มเครื่องกระทบ ได้แก่ เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย โดยบรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร ผ่านช่วงเวลาที่มีทั้งรุ่งเรืองและซบเซามากระทั่งถึงยุคสมัยของนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส มีการปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด เช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตร ซึ่งต่อมาเป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต


พจนานุกรมให้ความหมายเพลงปลุกใจว่า คือเพลงที่เร้าใจให้เกิดความกล้าหาญและกระตือรือร้น จึงเป็นเพลงที่ฟังแล้วจะเหนื่อย ยิ่งร้องเองยิ่งเหนื่อย เหนื่อยด้วยความฮึกเหิมเอาชัย


สำหรับประเทศไทย วิทยานิพนธ์เรื่อง การสื่อความหมายในเพลงปลุกใจสี่เหล่าทัพ ของ วรรณลดา พิรุณสาร นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


อธิบายถึงเพลงปลุกใจของกองทัพว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2452)


และเริ่มปรากฏเด่นชัดในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2456)ต่อมาเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ.2475 กองทัพผลิตเพลงปลุกใจออกมามากขึ้น


กระทั่งเข้าสู่ ช่วงสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เพลงปลุกใจของกองทัพยุคนี้จึงมีความเจริญสูงสุด เหตุผลประการหนึ่งมาจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และรัฐบาลต้องการจะปลุกเร้าจิตใจของทหารในกองทัพให้เกิดสำนึกรักชาติ ต่อมาเมื่อ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพลงปลุกใจของกองทัพกลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จวบจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย14 ตุลาคม 2516-2519


เพลงปลุกใจของกองทัพจึงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง โดยแรงจูงใจที่ผู้ประพันธ์นำมาใช้มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย รองลงมาคือความต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือยกย่องในวงสังคม และการอุทิศตัวเพื่อประเทศชาติ ตามลำดับ

ตัวอย่างเพลงปลุกใจ
· เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย
· เกียรติศักดิ์ทหารเสือ
· จากยอดดอย
· ชายชาญทหารไทย
· ดอกประดู่ (เพลง)
· ดุจบิดามารดร
· แด่ทหารหาญในสมรภูมิ
· ตื่นเถิดชาวไทย
· ตื่นเถิดไทย
· ต้นตระกูลไทย (เพลง)
· ถามคนไทย
· ทหารของชาติ
· ทหารพระนเรศวร
· แผ่นดินของเรา (เพลง)
· แผ่นดินของเรา (เพลงพระราชนิพนธ์)
· พลังสามัคคี
· เพลงมหาชัย
· รักกันไว้เถิด
· เราสู้
· เลือดสุพรรณ
· สยามานุสสติ
· หนักแผ่นดิน
· อนุสติไทย

ศึกบางระจัน


ศึกบางระจัน จำให้มั่นพี่น้องชาติไทยเกียรติประวัติสร้างไว้ แด่ชนชาติไทยรุ่นหลังแม้ชีวิตย่อมอุทิศคราชาติอับปาง เลือดไทยต้องมาไหลหลั่งทาทั่วผืนแผ่นดินทองไทยคงเป็นไทย มิใช่ชาติเป็นเชลยไทยมิเคยถอยร่นชนชาติศัตรู บางระจัน แม้สิ้นอาวุธจะสู้สองดาบฟาดฟันศัตรู สู้จนชีพตนมลายตัวตายดีกว่าชาติตาย เพียงเลือดหยาดสุดท้ายขอให้ไทยคงอยู่ แดนทองของไทยมิใช่ศัตรูแม้ใครรุกรานเราสู้ เพื่อกู้แหลมถิ่นไทย
เลือดสุพรรณมาด้วยกัน มาด้วยกัน เลือดสุพรรณ เอยเลือดสุพรรณเข้าประจัญอย่าได้พรั่นเลย (ซ้ำ)

เลือดสุพรรณเหิมหาญในการศึกเหี้ยมฮึกกล้าสู้ไม่รู้หนีไม่ครั่นคร้ามครามใจต่อไพรีมาด้วยกัน มาด้วยกัน เลือดสุพรรณ เอยเลือดสุพรรณเข้าประจัญอย่าให้พรั่นเลย (ซ้ำ)
อยู่ไม่สุขเขารุกแดนกระหน่ำให้ชิดซ้ำแสนอนาถชาติไทยเอยเขาเฆี่ยนฆ่าเพราะเขาเห็นเป็นเชลย อย่านิ่งเฉยอยู่ทำไมพวกไทยเรามาด้วยกัน มาด้วยกัน เลือดสุพรรณ เอยเลือดสุพรรณเข้าประจัญอย่าได้พรั่นเลย
(ซ้ำ)อันเมืองไทยเป็นของไทยใช่ของอื่น มาต่อสู้กู้คืนเถอะเรา เอยถึงตัวตายอย่าเสียดายชีวิตเลย มาเถอะเอยพวกเรามากล้าประจัญมาด้วยกัน มาด้วยกัน เลือดสุพรรณเลือดสุพรรณเข้าประจัญอย่าได้พรั่นเลย (ซ้ำ)

สุดแผ่นดิน

สุดดินคือถิ่นน้ำ เขตคามไทยสุดแนวเราถอยไม่ได้อีกแล้ว ฟื้นดินสิ้นแนวทะเลกว้างใหญ่ชาติไทยในเก่ากาล ถูกเขารานย้ำใจเคยเสียน้ำตามากเพียงไหน เสียเนื้อเลือดเท่าไรชาวไทยจำได้ดีเราถอนมาอยู่แสนไกล รวมเผ่าไทยอยู่อย่างเสรีพระสยามทรงนำโชคดี ผืนดินถิ่นนี้คือแผ่นทองไม่มีที่แห่งไหน ให้ไทยไปจับจองเราถอยไปไม่ได้พี่น้อง ใครคิดมาแย่งครองผองไทยจงสู้ตาย

เพลงถามคนไทย
หัวใจถูกแทงกี่ขั้ว ตามตัวถูกฟันกี่แผลปู่ไทยตายไปกี่คนแน่ ไทยจึงได้แผ่มาถึงแหลมทองกระดูกไทยกระเด็นไปกี่ท่อน เชิงตะกอนเผาไปกี่หนคอขาดกันไปกี่คน ไทยทุกคนจึงได้ไทยครอบครองเสียเลือดกันไปเท่าไหร่ เสียใจกันไปกี่ครั้งน้ำตาของไทยไหลหลั่ง ทุกๆครั้งที่ถูกเฉือนขวานทองเข่นฆ่ากันทำไม เราเป็นคนไทยด้วยกันทั้งผองไทยฆ่าไทย ให้ชาติอื่นครองวิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไรไทยฆ่าไทยให้ชาติอื่นครองวิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไรวิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร


อยุธยารำลึก

อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อนจิตใจอาวรณ์มาเล่าสู่กันฟังอยุธยาแต่ก่อนนี้ยังเป็นดังเมืองทอง ของพี่น้องเผ่าพงศ์ไทยเดี๋ยวนี้ซิเป็นเมืองเก่าชาวไทยแสนเศร้า ถูกข้าศึกรุกรานชาวไทยทุกคนหัวใจร้าวรานข้าศึกเผ่าผลาญ แหลกลาญวอดวายเราชนชั้นหลังมองแล้วเศร้าใจอนุสรณ์เตือนให้ชาวไทยจงมั่นสมัครสมานร่วมใจกันสามัคคีคงจะไม่มีใครกล้ามาราวีชาติไทย(ซ้ำทั้งเพลง)

สามัคคีชุมนุม

พวกเราเหล่ามาชุมนุม ต่างภูมิใจรักสมัครสมาน ล้วนมิตรจิตชื่นบาน สราญเริงอยู่ทุกผู้ทุกนาม (สร้อย)
อันความกลมเกลียว กันเป็นใจเดียวประเสริฐศรี ทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี กิจใด ธ ประสงค์มี ร่วมใจภักดีแด่พระจอมสยาม พร้อมจิตดังมือเดียวยาม ยากเย็นเห็นง่ายบ่หน่ายบ่จาง (สร้อย)
ที่หนักก็จักเบาคลาย ที่อันตรายก็ขจัดขัดขวาง ฉลองพระเดชบ่จาง กตเวทีคุณพระกรุณา (สร้อย)
สามัคคีนี่แหละล้ำเลิศ จักชูชาติเชิดพระศาสนา สยามรัฐจักวัฒนา ปรากฏเกียรติฟุ้งเฟื่องกระเดื่องแดนดิน (สร้อย)


http://gotoknow.org/blog/boomya1/217529?page=1

http://kamponn.multiply.com/journal/item/44/44

ประวัติแตรวงชาวบ้าน


แตรวงเป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงในกิจกรรมของชาวบ้าน แตรวงใช้สำหรับการประโคมและการแห่ในงานต่างๆ อาทิ งานศพ งานบวช งานแต่งงาน งานสมโภชและงานสังสรรค์รื่นเริง แตรวงนิยมใช้ทั่วไปในประเทศไทย ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการประโคมและการแห่ของภาคกลาง


แตรวงเป็นวงดนตรีที่เริ่มจากกองดุริยางค์ของทหาร ซึ่งทหารแตรชุดแรกจากอังกฤษเข้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2395 โดยมีครูแตร ร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas Gerge Knox) และร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) เป็นครูฝึกทหารแตรที่อยู่ที่วังหลวงและวังหน้า โดยใช้เพลงกอดเสฟเตอะควีน (God save the Queen) ทหารแตรส่วนใหญ่เป็นนักดนตรีปี่พาทย์ เล่นดนตรีในวงต่างๆเมื่อเป่าแตรได้ ก็นำแตรไปเป่าเพลงปี่พาทย์ด้วย จึงกลายเป็นแตรวงผสมปี่พาทย์เล่นในงานต่างๆกระจายไปสู่ชาวบ้านทั่วไป


เครื่องดนตรีของแตรวงที่นิยมใช้ประกอบด้วย เครื่องเป่า และเครื่องจังหวะเป็นหลัก อาทิ ทรัมเป็ต ทรอมโปน คอร์เน็ต บาริโทน(ยูโฟเนียม) ทูบา ฮอร์น คลาริเนต แซกโซโฟน และเครื่องจังหวะกลองมริกัน (กลองใหญ่) ฉิ่งฉาบ กรับ นิยมบรรเลงคู่กับปี่พาทย์ เมื่อใช้แห่ก็นิยมผสมกับวงกลองยาว แตรวงได้พัฒนาอยู่ในสังคมชาวสยามร่วม 150 ปี


ปัจจุบันกิจกรรมของแตรวงซบเซาและเล่นกันน้อยลง เนื่องจากสังคมเปลี่ยนไปตามงานต่างๆ ไม่ค่อยนิยมการแห่อีกต่อไป งานบวช งานศพมีการแห่น้อยลง งานประโคมนาค งานประโคมศพ มีกิจกรรมอื่นๆแทน หากมีงานราชการก็มีวงโยธวาทิตของโรงเรียนเข้ามาทำหน้าที่ทดแทน ทำให้แตรวงมีงานน้อยจึงไม่สามารถดำรงอยู่ได้ อย่างไรก็ตามในต่างจังหวัดชาวบ้านก็ยังมีแตรวงประโคมและแห่อยู่บ้าง


ประวัติเพลงลูกทุ่ง


ประวัติเพลงลูกทุ่ง

ถ้าจะพิจารณาถึงกำเนิดของเพลงลูกทุ่งแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเพลงลูกทุ่งถือกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานเท่ากับเพลง ไทยสากล เนื่องจากแรกเริ่มเดิมทีนั้น ยังไม่มีการแยกประเภทเพลงไทยสากลออกเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง ถือว่าเป็นเพลง กลุ่มเดียวกัน นักแต่งเพลงและผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีหลายท่านในช่วงต้นล้วนแล้วแต่ไม่ประสงค์ให้แบ่งแยกเพลงไทยสากล ออกเป็นเพลงลูกทุ่งและ เพลงลูกกรุง อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าในยุคแรกมีนักร้องเพลงไทยสากลที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งนิยมร้องเพลงที่มีสาระบรรยาย ชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนาและความยากจน ชาวบ้านเรียกเพลงกลุ่มนี้ว่า "เพลงตลาด" หรือ "เพลงชีวิต"



เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงเวลานี้ มีนักร้อง แนวเพลงตลาดอยู่หลายคนที่แต่งเพลงเองด้วย อาทิ ไพบูลย์ บุตรขัน,ชลอ ไตรตรองสอน,พยงค์ มุกดา,มงคล อมาตยกุล,เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) ,สุรพล สมบัติเจรฺญ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ ได้แก่ วงดนตรี "จุฬารัตน"' ของ มงคล อมาตยกุล วงดนตรี "พยงค์ มุกดา" และวงดนตรี "สุรพล สมบัติเจริญ" นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้ เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่ง จำนวนมากในกาลต่อมา


นักร้องที่ร้องเพลงแนวดังกล่าวในระยะต้นยังไม่เรียกกันว่า 'นักร้องลูกทุ่ง' นักร้องชายที่รู้จักชื่อกันดี เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์, ชาญ เย็นแข, นิยม มารยาท, ก้าน แก้วสุพรรณ, ชัยชนะ บุณยโชติ, ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิง ที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช, ศรีสอางค์ ตรีเนตรเพลงลูกทุ่งแยกออกเป็นเอกเทศชัดเจนจากเพลงลูกกรุงนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ โดยตั้งชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" เมื่อปลายปี พ.ศ.2507 และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 มีการ จัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 ปรากฎว่า สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่ง ชายยอดเยี่ยม จากเพลงชื่อ "ยอดทิพย์รวงทอง" (ในการจัดงานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2507 ยังไม่มีเพลงลูกทุ่งส่งเข้าประกวด)ผู้ที่ทำให้เพลงลูกทุ่งพุ่งผงาดอยู่ในความนิยมของวงการเพลงด้วยลีลาและรูปแบบเฉพาะตนคือ สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งแต่งเพลง ร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตจากการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะ รำวงในเพลงที่เขา แต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลง "เสียวไส้" "ของปลอม" ฯลฯ


ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอดเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2506 - 2513 เป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย


นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลง มาจากครู เพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่น พีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์, สุชาติ เทียนทอง และ ชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่นๆ มีอาทิ เพลิน พรหมแดน, จิ๋ว พิจิตร, สำเนียงม่วงทอง, ฉลอง การะเกด, ชาญขัย บัวศร,สมเสียร พานทอง ฯลฯ


ในช่วงยุคทองของเพลงลูกทุ่งนี้ มีนักร้องเกิดขึ้นใหม่หลายคนนักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, เพลิน พรหมแดน, พร ภิรมย์, ชาย เมืองสิงห์, ศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ


คำจำกัดความของเพลงลูกทุ่งคืออะไรในหนังสือกึ่งศตวรรษ เพลงลูกทุ่งไทย ก็ให้คำจำกัดความไว้ว่า "เพลงลูกทุ่ง หมายถึงเพลง ที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง"



ประวัติเพลงลูกกรุง


เพลงไทยลูกกรุง และเพลงลูกทุ่ง” หมายถึง เพลงที่มีความหมายคล้ายกับเพลงไทยสากล แต่มาแตกต่าง แยกรายละเอียด ลงลึกในเนื้อร้อง เรื่องราว และการขับร้อง การถ่ายทอดบทเพลงตลอดถึงบุคลิกของนักร้องจะมี หรือหาเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งน้ำเสียง เพื่อจะทำให้รูปแบบในการนำเสนอเข้าถึงผู้ฟังได้ความรู้สึกการตอบสนองแตกต่างกันออกไปตามที่ศิลปินอยากจะให้เป็นตามแนวเพลงแรกๆ จากอดีต ตั้งแต่การดนตรีเริ่มพัฒนานำเอาเครื่องดนตรีต่างประเทศเข้ามาผสมผสานกับการดนตรีไทย เริ่มใหม่ๆ แนวเพลงยังไม่มีความชัดเจนแยกประเภทของเพลงแทบจะไม่ออกว่าเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกุรง เพลงมาร์ชเพลงปลุกระดม หรือเพลงแนวใด นักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง เล่นดนตรีเพลิดเพลินไปกับอุปกรณ์แนวใหม่ ตอบสนองความฝัน และจินตนาการไปตามเหตุการณ์ของตัวเอง และสังคมเมือง ต่อๆ มาเมื่อแนวเพลง และบทเพลงมีมากมายหลากหลาย ทั้งเพลงประกอบการแสดงละคร เพลงประกอบภาพยนตร์ และเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อชีวิตประจำวันตามประเพณีนิยม และกลับกลายมาเป็นเพื่ออาชีพ
ฉะนั้นแนวเพลงจึงเริ่มแยกออกมาชัดเจน ทั้งตามกลุ่มผู้ฟัง และผู้ทำเพลงเพลงลูกกรุง มีความหมายว่าอย่างไรเป็นคำตอบที่ค่อนข้างจะลำบาก แต่ถ้าหากจะตอบแบบไม่เป็นจริงเป็นจัง ก็ตอบได้ง่ายๆ สบายๆ ง่ายนิดเดียวว่า “เพลงลูกกรุง คือเพลงที่ร้องโดยวงสุนทราภรณ์ คุณสุเทพ คุณชรินทร์ คุณธานินทร์ ฯลฯ จบ ... เพลงลูกทุ่ง คือเพลงที่ร้องโดยคุณสุรพล สมบัติเจริญ คุณเพลิน พรมแดน คุณไวพจน์ เพชรสุพรรณ คุณศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ จบ ...”แต่ความหมายในเชิงวิเคราะห์กึ่งวิชาการ และทางด้านการบันทึกเพื่อเป็นหลักฐานอ้างอิง ความหมายของเพลงลูกกรุงนั้น ค่อนข้างยาก และลำดับได้ลำบาก เพราะต่างให้ความหมาย และคำตอบที่แตกต่างกันออกไปในรูปแบบต่างๆ ไม่มีบทนิยามที่ชัดเจน อาจจะเป็นเพราะว่าศิลปะแขนงนี้เป็นศิลปะที่ยังไม่มีหลักการ และทฤษฎีมารองรับ
แหล่งข้อมูลบางแหล่งบอกมีเพลงลูกกรุงกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2474 ระหว่างช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน ประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองฯ ในรัชกาลที่ 7 บางแหล่งบอกปลาย รัชกาลที่ 6 ประมาณ พ.ศ. 2455 โดยการจ้างครูจากอิตาลีนำเครื่องสายสากลเข้ามาสอน แต่ความชัดเจนเพลงลูกกรุงเริ่มเด่นขึ้นมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2475 โดยเริ่มมีแนวเพลง เนื้อร้อง ทำนอง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงประกอบเป็นไทย ทำนองไทยที่นำเอาบทเพลงของ รัชกาลที่ 6 ที่นำมาเรียบเรียงเสียงประสานใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ เป็นเพลงในกิจการลูกเสือ
และต่อมามีเพลงของขุนวิจิตรมาตรา "ลาทีกล้วยไม้" เป็นเพลงในจังหวะรุมบ้าเพลงแรกของไทย บทเพลงของจิตร ภูมิศักดิ์ และอื่นๆ ซึ่งแต่ง และใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงประกอบ นั่นคือหลักฐานการกำเนิดเพลงลูกกรุง แต่ความหมายของเพลงลูกกรุงกลับไม่ได้อธิบายเป็นบทนิยามไว้ชัดเจนว่ามีความหมายอย่างไร สำหรับความหมายเพลงลูกกรุงของ 500 บันทึกเมือง จะขออธิบายตามความเข้าใจ และแยกประเภทตามรูปแบบไว้เป็นดังนี้
เพลงลูกกรุง หมายถึง “บทเพลงที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของ สังคม และคนเมืองหลวง รวมถึงเรื่องราว ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การถ่ายทอดอารมณ์ การขับร้อง น้ำเสียง ของกลุ่มนักร้อง นักแต่งเพลง และนักดนตรีจะมีรูปแบบ ประณีต ละเอียดอ่อน ออกมานุ่มนวล ความรู้สึกของผู้ฟัง ฟังแล้วเกิดจินตนาการตาม เนื้อร้องของบทประพันธ์ออกมาเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง มีความหมายสลับซับซ้อน ยอกย้อน ผู้ประพันธ์ นักร้อง นักดนตรี
และผู้ฟังอาจเข้าถึงบทเพลงไปตามจินตนาการแตกต่างกันไป”คำว่า “เพลงลูกกรุง” ได้แยกกลุ่มผู้ฟังอย่างเด่นชัดขึ้นมาตามลำดับ โดยนำเอาความเป็นอยู่ (Lifestyle) ของผู้ฟัง ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี เป็นผู้กำหนดทิศทาง วงสุนทราภรณ์เป็นวงแรก ก่อตั้งเป็นวงดนตรีวงใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2482 ซึ่งทำให้สังคมเมืองในยุคนั้น เริ่มตื่นตัวการฟังเพลง ผู้ฟังและค่ายเพลงต่างๆ เริ่มจัดประเภทเพลง สร้างนักร้องให้มีรูปแบบความเป็นคนเมืองหลวง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักร้องต่างมีรูปแบบ หาแฟชั่นนำสังคม ทั้งเรื่องการแต่งตัวการออกกินข้าวนอกบ้าน มีคลับมีบาร์ แถวถนนราชดำเนิน ตามย่านชุมชน โรงแรมใหญ่ๆ มีห้องบอลรูม เพื่อให้มีการจัดแสดงดนตรีประกอบ กลุ่มคนฟังจึงเริ่มรับแนวเพลงลูกกรุง เกิดการเปรียบเทียบระหว่างแนวเพลงลูกทุ่ง กับเพลงลูกกรุงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
นักร้องลูกกรุงที่ถือว่าเป็นรุ่นแรกที่กำหนดแนวเพลงลูกกรุงไว้ชัดเจนมีดังต่อไปนี้เอื้อ สุนทรสนาน สุเทพ วงศ์กำแหง ชรินทร์ นันทนาครม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ สมยศ ทัศนพันธุ์ นริศ อารีย์นพดฬ ชาวไร่เงิน วินัย จุลละบุษปะ ชาญ เย็นแขกำธร สุวรรณปิยะศิริ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี มัณฑนา โมรากุลอ้อย อัจฉรา จินตนา สุขสถิตย์ บุษยา รังสีรวงทอง ทองลั่นธม สวลี ผกาพันธุ์ สมศรี ม่วงศรเขียว

ประวัติเพลงเพื่อชีวิต


เพลงเพื่อชีวิต คือประวัติศาสตร์ ในทุกช่วงของเวลาที่ต่างกัน ความหมายของบท เพลงเพื่อชีวิต ก็แตกต่างกัน แต่ยังคงไว้ด้วยแกนแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งเนื้อหาที่สุดขั้ว เรียบง่าย ฟังสบาย ให้กำลังใจ เดิมที่เพลง เพลงเพื่อชีวิต ถูกเรียกว่า " เพลงชีวิต " จากนั้นถูกบัญญัติชื่อใหม่ว่า " เพลงเพื่อชีวิต " ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 จุดเริ่มต้นของแนวเพลงชีวิตยุคบุกเบิกได้ถือกำเนิดขึ้น รวมทั้งเพลงเสียดสียั่วล้อสังคม นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ศิลปินมีบทบาทสะท้อนความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมือง ออกมาในบทเพลงของพวกเขา โดยมีสภาพที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงครามผู้บุกเบิกแนวเพลงเพื่อชีวิตเป็นคนแรกนี้ นั่นก็คือ อาจารย์ แสงนภา บุญราศรี เป็นผู้ร้องเพลงที่สะท้อนภาพปัญหาของชีวิต และปัญหาของสังคมอยู่ในยุคแรกๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความทุกข์ยากของคนปาดตาลในเพลงที่มีชื่อว่า “คนปาดตาล” ในอดีต คนปาดตาลเป็นอาชีพหนึ่งที่ทุกข์ยาก มีหน้าที่ปีนต้นตาลขึ้นไปปาดเอาน้ำตาลลงมาแล้วมาทำน้ำตาล และอีกหลายๆบทเพลง ที่ไม่สามารถฟังได้ด้วยเทคโนโลยีการบันทึกเสียงใดๆ หรือจะกล่าวอีกนัยนึงได้ว่าเราจะฟังเพลงของอาจารย์แสงนภาได้จากผู้อาวุโสอายุ 60 ปีขึ้นไป บางท่านที่ยังพอจดจำเพลงชีวิตของนักเพลงผู้นี้เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างมากสำหรับบทเพลงที่มีความหมายและทรงคุณค่าอย่างนี้ ที่ปราศจากการเหลียวแลของคนยุคนั้นในช่วงทศวรรษ 2490 ความตื่นตัวของวงการเพลงที่มีสถานีวิทยุและธุรกิจแผ่นเสียงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญ ที่ทำให้รูปแบบและเนื้อ หาเพลงเพื่อชีวิต พัฒนาไปในทิศทางที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น มวลชนมีการรับรู้กันอย่างกว้างขวางมากขึ้น จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 2500 เป็นช่วงที่เพลงชีวิตซบเซาถึงขีดสุด
แต่ได้เกิดเพลงชีวิตอีกแนวหนึ่งโดยนักเขียนนาม “จิตร ภูมิศักดิ์” ขึ้นภายในกำแพงคุก ในช่วงที่ถูกจองจำเป็นนักโทษการเมือง และพัฒนาเป็นต้นแบบของ “เพลงเพื่อชีวิต” ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยท่ามกลางความมืดมิดในยุคเผด็จการครองเมืองก่อน 14 ตุลา 2516 ณ ห้วงเวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทความที่เสนอแนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ขึ้นมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวเพลงใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นก็คือ “เพลงเพื่อชีวิต” กล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือ เพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรม อันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516


“สุรชัย จันทิมาธร” หรือที่รู้จักกันในนาม “หงา คาราวาน” ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่ ก็ถือกำเนิดบทบาทของการเป็นศิลปินเพื่อชีวิตขึ้นมาในเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมในการประท้วง และคอยแต่งบทกลอนต่างๆส่งให้โฆษกบนเวทีอ่านให้ประชา ชนฟัง เพื่อปลุกเร้าขวัญกำลังใจและรวบรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกันในสมัยนั้น วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกที่สร้างความประทับใจให้แก่คนรุ่นนั้นเป็นอย่างมาก ก็คือวงดนตรี “คาราวาน” ถือได้ว่าเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอดีต วงดนตรีคาราวานเป็นจุดเริ่มต้นการขยายตัวของดนตรีเพื่อชีวิต ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานเพลงมากมาย โดยการเข้าร่วมกับขบวนการนักศึกษา ความโด่งดัง และความสามารถในเชิงดนตรีของพวกเขาส่งผลให้บทเพลงเพื่อชีวิตสามารถเปิดการแสดงร่วมกับวงดนตรีในเชิงธุรกิจได้ ผลงานชุดแรกของวงคาราวานมีชื่อว่า “คนกับควาย” ซึ่งปัจจุบันนี้หาฟังต้นฉบับจริงๆที่บันทึกเสียงไว้ในยุคนั้นได้ยากมาก มีเนื้อหาสาระสะท้อนความทุกข์ยากของชาวนา และชุดที่สองในชื่อ “อเมริกันอันตราย”เป็นบทเพลงที่ต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกา วงดนตรีที่เล่นเพลงเพื่อชีวิต ในเมืองไทย ที่มีอยู่ตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มี ฅาราวาน, คาราบาว, อี๊ด ฟุตบาท, คนด่านเกวียน,ซูซู,เเฮมเมอร์,พงษ์สิทธิ์ คำภีร์,พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ,อินโดจีน,มาลีฮวนน่า เป็นต้น ซึ่งบางวงที่กล่าวมาก็เลิกเล่น หรือเล่นแบบงานเฉพาะกิจเท่านั้น

ประวัติบีบอย

ประวัติบีบอย

คำว่า B-Boying นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษาของชนชาติแอฟริกัน คือ คำว่า “Boioing” หมายความว่า “ กระโดด, โลดเต้น” และถูกใช้ในแถบ 'Bronx River' ในการเรียก รูปแบบการเต้นเบรกกิ้งของกลุ่มชาวบีบอย ตัว B ในคำว่า Bgirl : Bboy นั้นย่อมาจาก Break-Girl : Break-Boy ( บางทีก็หมายถึง Boogie หรือ Bronx)

B-Boying นั้นยังเป็นที่รู้จักในชื่อ “ เบรกกิ้ง” หรือ เบรคแด๊นซ์" ( อันหลังได้รับการบัญญัติโดยสื่อมวลชน)Breaking นั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Rocking มาก่อน เป็นการสะท้อนของ อิทธิพลจากชนชาวแอฟริกัน อเมริกัน หรือวัฒนธรรมชาวลาติน(เปอโตริกัน) ซึ่งมาพร้อมกับการอพยพ และ ปักฐานที่กรุงนิวยอร์กในช่วงปลายยุค60 นั่นเอง "เบรกกิ้ง" เป็นการเต้นที่ได้รับอิทธิพลจากการเต้นหลากหลายรูปแบบ ทั้งท่วงท่าจากกีฬายิมนาสติก รวมถึงจากศิลปะการเคลื่อนไหวของโลกตะวัน ออกอีกด้วย เป็นที่คาดคิดกันว่า เบรคกิ้ง หรือเบรคแด๊นซ์นั้นมีรากฐานมาจากคาโปเอร่า หรือ 'Capoeira' คำว่า เบรค (Break) นั้นเป็นช่วงของจังหวะดนตรีที่ดุดันและเร้าใจ ในช่วง จังหวะนี้เหล่านักเต้นจะแสดงอารมณ์ด้วยท่าเต้นที่จะดึงดูดสายตาที่สุดเลยทีเดียว เรียกว่ามีอะไรก็เอามาโชว์ให้หมด

Kool DJ Herc เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในการ ขยายช่วงจังหวะนี้ให้สนุกมากขึ้นด้วยเทิร์นเทเบิ้ลถึงสองตัว โดยเล่นแผ่นเสียง พร้อมกันทั้ง2 เครื่องและใช้แผ่นเสียงเพลงเดียวกัน ใช้เทคนิคถูแผ่นต่างๆกันไป ซึ่งนักเต้นสามารถจะถ่ายทอดท่าเต้นได้นานกว่าเดิม ที่มักจะเป็นเวลาเพียงไม่กี่ วินาที ในระยะแรกๆนั้นการเต้นจะเป็นท่า " upright" ที่ภายหลังเป็นที่รู้จักกันใน ชื่อ"top rocking" เป็นท่ายืนเต้น ซึ่งมีอิทธิพลมาจากBrooklyn uprocking, การ เต้นแท็ป , lindy hop , ซัลซ่า, ท่าเต้นของ Afro Cuban, ชนพื้นเมืองแอฟริกัน และชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน และก็ยังมีท่าท๊อปร็อคแบบ Charleston ที่เรียก ว่า"Charlie Rock" อิทธิพลอีกอย่างนั้นมาจาก James Brown กับผลงานเพลง ยอดฮิต"Popcorn" (1969) และ "Get on the Good Foot" (1972) จากท่าเต้น ที่เต็มไปด้วยพลังและรูปแบบที่โลดโผนสนุกสนาน

ผู้คนจึงเริ่มที่จะเต้นในแบบ"GoodFoot". ในขณะ ที่การต่อสู้กันด้วยลีลาท่าเต้นเริ่มจะกลายมาเป็นประเพณี การเต้น Rocking หรือ Breaking นั้นก็เริ่มจะแทรกซึมเข้ามาสู่วัฒนธรรมฮิปฮอป ( ปะทะกันด้วยความสร้างสรรค์ไม่ใช่ด้วยอาวุธ) และมันเริ่มพัฒนาท่า เต้นที่เริ่มหลากหลายขึ้น ทั้งการย่ำเท้า การสับขา การลากเท้า และท่วงท่าที่จะใช้ปะทะกัน คือมีดีอะไรก็นำมาโชว์และเป็นที่มาของท่า "footwork" ("floor rocking" และ "freezes". Floor rocking, มีอิธิพลมาจากภาพยนตร์แนวต่อสู้

ในช่วงปลายยุค 70, การเต้นแท็ป ( ฟุตเวิร์กแบบชาวรัสเซีย, การตบ, การกวาดตัวเคลื่อนย้าย อย่างรวดเร็ว, ท่าล้อเกวียน)และท่าอื่นๆ ซึ่ง Floor rocking ได้เข้ามาเป็นท่าเต้นหลักเพิ่มขึ้น จาก 'toprocking' ในช่วงการเต้นขึ้นลงสู่พื้น เรียกว่า การ"godown" หรือ การ"drop" ยิ่งทำได้ลื่นไหลมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี.Freezes นั้นมักใช้ในเป็นท่าจบ ซึ่งมักจะใช้เป็นท่าล้อเลียนหรือท้า ทายฝ่ายตรงข้ามหรือคู่ต่อสู้ ท่าที่ยอดฮิตก็คือ "chairfreeze" และ "baby freeze". ท่า chair freeze นั้นกลายเป็นท่าพื้นฐานของหลายๆท่าเพราะว่าระ ดับความยากง่ายของท่าที่ต้องใช้ความสามารถพอตัว คือ การใช้มือ แขนข้อศอกในการพยุงตัวในขณะที่เคลื่อนไหวขาและสะโพก เป้าหมายหลักในการปะทะ หรือ “Breaking Battle” นั้นก็คือ เอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยท่าที่ยากกว่า สร้างสรรค์กว่า และรวดเร็วกว่าในทั้งจังหวะ และการFreezes ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ "Breaking crews" หรือกลุ่มของนักเต้นนั้น เข้ามารวมตัวกันและช่วยกันฝึกฝนและคิดค้นท่าใหม่ๆ เพื่อเอาชนะกลุ่มอื่นๆ

กลุ่มบีบอยที่เป็นที่รู้จักในช่วงแรกๆ คือ กลุ่ม Nigga Twins และกลุ่มอื่นๆอย่างเช่น “TheZulu Kings, The Seven Deadly Sinners, Shang-hai Brothers, The Bronx Boys, Rockwell Association, Starchild La -Rock,Rock Steady Crew and the Crazy Commanders ("CC step" เรียกได้ว่าพวกเขาเป็นผู้บุกเบิกวงการนักเต้นบีบอยยุคแรกๆช่วงที่การเต้นแบบนี้เริ่มพัฒนาจนมีเอกลักษณ์ น่าสนใจและสร้างนักเต้นที่เป็นที่รู้จักนั่น ก็คือช่วงกลางยุคปี70 ก็ได้แก่นักเต้นอย่าง Beaver,Robbie Rob (Zulu Kings), Vinnie, Off (Salsoul), Bos (Starchild La Rock), Willie Wil, Lil' Carlos (Rockwell Association), Spy, Shorty (Crazy Commanders), Jame Bond, Larry Lar, Charlie Rock (KC Crew), Spidey, Walter (Master Plan) ฯลฯ

กลุ่มบีบอยใหญ่ๆที่ทำใหศิลปะการปะทะกันด้วยเบรคแด๊นซ์นี้ไม่หาย ไป ก็คือการปะทะกันระหว่างกลุ่ม SalSoul ( เปลี่ยนชื่อภายหลังเป็น The DiscoKids) กับกลุ่ม Zulu Kings และระหว่างกลุ่ม Starchild La Rock กับ Rockwell-Association. ในขณะนั้น ' เบรคกิ้ง' หรือ ' เบรคแด๊นซ์ ' ยังมีแค่ท่าFreezes, Footworks and Toprocks และ ยังไม่มีท่า Spins! ในช่วงปลายยุค70 กลุ่มบีบอยรุ่นเก่าๆเริ่มที่จะถอนตัวกันไปและบีบอยรุ่น ใหม่ๆก็เริ่มเข้ามาแทนที่ และ คิดค้นสร้างสรรค์ท่าและรูปแบบการเต้นใหม่ๆขึ้น เช่น การหมุนทุกๆส่วนของร่างกาย เพิ่มขึ้นมา ซึ่งเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ท่า Headspin, Continues Backspin หรือ Windmill และอื่นๆอีกมาก ที่ได้รับการ คิดค้นและพัฒนามาเรื่อยๆในช่วงยุค 80 มีกลุ่มบีบอยหลายๆกลุ่มที่โด่งดังในกรุงนิวยอร์ก ได้แก่ 'Rock Steady Crew' , 'NYC Breakers' , 'Dynamic Rockers' , 'United States Breakers' , 'Crazy Breakers' , 'Floor Lords' , 'Floor Masters' , 'Incredible Breakers' , 'Magnificent Force' ฯลฯ

บีบอยที่เก่งช่วงนั้นก็เช่น Chino, Brian, German, Dr. Love (Master Mind), Flip (Scrambling Feet),Tiny (Incredible Body Mechanic) ฯลฯ.การปะทะกันที่ยิ่งใหญ่มากในตอนนั้น เป็นการปะทะกันระหว่าง Rock Steady Crew กับ NYC Breakers และระหว่าง Rock Steady Crew กับ Dynamic Rockers และในช่วงปลาย

http://bowmoonoi-bowdangmusic.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติเพลง สตริงหรือสตริงคอมโบ้


สตริงหรือสตริงคอมโบ้ ( String Combo ) เป็นวงดนตรีประเภทเครื่องสายอย่างตะวันตกมีขนาดเล็กเกิดใหม่จากการดัดแปลงวงคอมโบ้รวมมิตรกับวงชาโดว์
วงคอมโบ้ (Combo Band) หมายถึงวงดนตรีขนาดเล็กมุ่งประกอบการขับร้อง มีจำนวนเครื่องดนตรีไม่แน่นอนแล้วแต่ความสะดวกแต่หลักๆมักประกอบด้วย ทรัมเป็ต เทเนอร์แซกโซโฟน อัลโตแซกโซโฟน ทอมโบน เปียโน กีตาร์คอร์ด กีตาร์เบส กลองชุด เครื่องดนตรีประกอบจังหวะอื่นๆได้แก่ กลองทอมบ้า ฉิง ฉาบ เป็นต้น ปัจจุบันนำหางเครื่องหรือปัจจุบันเรียกแดนเซอร์ มาเต้นประกอบเพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขี้น มีการส่งเสริมจัดการประกวดวงคอมโบ้หลายเวที เช่น รายการชิงช้าสวรรค์ ช่อง 9 อ.ส.ม.ท เวทียามาฮ่าลูกทุ่งคอนเทสก์ เวทีลูกทุ่ง ปปส.เป็นตัน

วงชาโดว์ (Shawdo Band) เป็นวงดนตรีขนาดเล็กๆเคลื่อยย้ายสะดวก ประกอบด้วยเครื่องดนตรี กีตาร์ลีด กีตาร์คอร์ด กี่ตาร์เบส กลองชุด แบ่งวิวัฒนาการออกเป็น 2 สมัย 1.ได้แก่ วงชาโดว์แนวบูล คันทรี โฟลก์ 2.วงชาโดว์แนวร๊อคเป็นต้นฉบับให้กับร๊อครุ่นหลังถึงปัจจุบัน บรรพบุรุษร๊อคนี้เรียกว่า คลาสสิคร๊อค มาถึงกำเนิดสตริงสัญชาติไทย (พ.ศ. 2503-2515)

วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรีตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดของคลิฟ ริชารด์ เอลวิส เพรสลีย ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อมๆกันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน

เมื่ออเมริกามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยสมัยสงครามเวียตนาม เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแชน วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่

พ.ศ. 2512 ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบ้แห่งประเทศไทยขึ้นมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วงจอยท์ รีแอ๊กชั่น ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น วงดิอิมพอสสิเบิลแปลว่าวงเป็นไปไม่ได้ ดิอิมพอสสิเบิลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย เศรษฐา ศิระฉายา วินัย พันธุรักษ์ อนุสรณ์ พัฒนกุล สิทธิพร อมรพันธ์ และพิชัย คงเนียม ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน

ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น วงพี่เอ็มไฟร์ (P.M.5) วงแฟนตาซี วงแกรนด์เอ็กซ์ วงชาตรี ฯลฯ

จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน (วงชาตรี) ครีกครืนรื่นเริงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้

http://bowmoonoi-bowdangmusic.blogspot.com/2008/04/blog-post_21.html

ดนตรีโฟล์ก

ดนตรีโฟล์ก (อังกฤษ: Folk music) มีความหมายที่แตกต่าง หลากหลาย อาทิ

เพลงพื้นบ้าน หรือ เพลงท้องถิ่น (Traditional music) ซึ่งมักจะจัดอยู่ในดนตรีประเภทเวิลด์มิวสิกด้วย

ดนตรีโฟล์กสามารถหมายถึง ดนตรีที่นำดนตรีพื้นบ้านมาประกอบในดนตรีร่วมสมัย โดยมักจะแสดงโดยนักดนตรีอาชีพ แนวเพลงใกล้เคียงเช่น โฟล์กร็อก, อีเลกทริกโฟล์ก และโพรเกสซีฟโฟล์ก

ในวัฒนธรรมอเมริกา ดนตรีโฟล์กจะมีความหมายถึง ดนตรีแนว อเมริกันโฟล์กมิวสิกรีไววอล (American folk music revival) ตัวอย่างเช่นศิลปินอย่าง วูดี กัธรี, ลีดเบลลี, พีท ซีเกอร์, แรมบลิน แจ็ก เอลเลียต, บ็อบ ดีแลน, ฟิล ออชส์, ทอม แพกซ์ทัน และโจนแอน บาเอซ ที่ได้รับความนิยมและช่วยส่งเสริมในการเขียนเนื้อเพลงในทศวรรษ 1950 และ 1960 ที่ทำให้เกิดแนวเพลงอย่าง อิงลิชโฟล์กรีไววอล ในทศวรรษ 1960 มีตัวอย่างศิลปินเช่น แม็กนา คาร์ทา, แฟร์พอร์ต คอนเวนชัน, สตีเลย์ สแปน, ราล์ฟ แม็กเทลล์, โดนาแวน และฟลีตวูดแม็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Hip Hop History ตอน 2


ในช่วงปลายปี1960ซึ่งเป็นช่วงจุดอิ่มตัวของเพลงยุค ’60 คนเริ่มที่จะหาแนวเพลงใหม่ๆที่ฉีกออกไปและก็เป็นจังหวะเดียวกับที่ Kool Herc หนุ่มชาวจาไมกาที่ย้ายมานิวยอร์คพร้อมกับนำดนตรีสไตล์จาไมกาเข้ามา จุดเด่นของเค้าก็คือการเปิดเพลงพร้อมกับท่อนร้องสดๆควบคู่กันซึ่งก็ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ จนมาวันนึง Kool Herc พบว่าเพลงบางเพลงสามารถทำให้คนเต้นรำกันได้อย่างสนุกสนานแต่มีช่วงเวลาที่น้อยไป เขาจึงนำเครื่อง Turntable มา2ตัวแล้วเปิดเพลงเดียวกันแต่สลับกลับไปกลับมาทำให้เกิดการ Mixing ขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งต่อมา Kool Herc ได้รับการยอมรับว่าเป็น DJ คนแรกของโลกนอกจากนั้น Kool Herc ยังเป็นคนริเริ่มคำร้องต่างๆอย่างเช่น “ Throw your hand in the air / and wave ‘em just like ya don’t care” ซึ่งเมื่อก่อนเรียกกันว่า “Mcing” ก่อนจะกลายมาเป็น “Rap” ในปัจจุบัน. หลังจากนั้น Kool Herc ก็มอบหน้าที่แร็ปให้กับเพื่อน2คนคือ Coke la rock และ Clark Kent (คนละคนกับตาSuperman นั่นนะครับ) และตั้งทีมขึ้นมาชื่อว่า “Kool Herc and the Herculoid” ถือเป็นกลุ่มMC ทีมแรกของโลก

Grand Wizard Theodore / Sugar Hill

จากนั้นในปี 1975 Grand Wizard Theodore ก็ค้นพบเทคนิกการ Scratching อย่างบังเอิญขณะกำลังเล่นอยู่ในห้องนอนของตัวโดยเกิดจากการดึงแผ่นกลับไปกลับมาทำให้เกิดเสียงแปลกๆขึ้น. จากนั้นเค้าเริ่มทดลองดูกับแผ่นอื่นๆจนได้เสียงที่คนฟังเข้าใจและนำมาแสดง. และก็ได้รับรางวัลจาก International Turntable Foundation ในฐานะผู้คิดค้นการ Scratch ช่วงนั้นเริ่มมีการออกอัลบั้มฮิพฮอพขึ้น และ1ในนั้นคือ “Rapperdelight” ของ the Sugar Hill สามารถขายได้ถึง2ล้านก้อปปี้ทั่วโลก และยังถูกวางเป็นรากฐานของเพลงฮิพฮอพมาจนถึงทุกวันนี้

Melle Mel / Grand Master Flash
ปี1983 ซิงเกิ้ล “White line(don’t do it)” ของ Grand Master Flash ร่วมกับ Melle Mel ซึ่งเป็นเพลงแอนตี้การใช้โคเคน ก็ดังกระหึ่มไปทั่วโลกและผลักดันให้แนวเพลงฮิพฮอพหลุดจากตลาดอันเดอร์กราวน์ขึ้นมาเทียบแนวอื่นอย่างสง่าผ่าเผยต่อมา กลุ่มคนจากเยอรมันในนาม “The Kraftwork” ได้นำแนว Africa Bombata เข้ามาเผยแพร่ด้วยซิงเกิ้ล “Trans-Europe Express” ซึ่งเป็นเพลงแร็ปที่มีเสียง Electronic แทรกอยู่ เพลงอย่าง “Planet rock” ที่ร่วมงานกับ Soul Sonic ก็ขายในอเมริกาได้ถึง 620,000 ก้อปปี้ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าของเพลงแนวฮิพฮอพอย่างแท้จริง, วัฒนธรรมฮิพฮอพทั้ง ทีมMC, นักพ่น Graffiti, B-Boy เริ่มถือกำเนิดขึ้นRUN D.M.Cในปี 1984 วงRun D.M.C. ก็จุดประการวัฒนธรรมการแต่งตัวของชาวฮิพฮอพโดยมาพร้อมกับชุดกีฬาและสร้อยทองเส้นโตซึ่งต่อมาเรียกกันว่าการแต่งตัวแบบ “Streetstlye”. เพลงอย่าง “My Adidas” ที่ร้องถึงรองเท้าคู่โปรดทำให้ Run D.M.C.เป็นนักร้องฮิพฮอพกลุ่มแรกที่มีสปอนเซอร์เพราะ Adidas ยอมจ่ายเงินเป็นจำนวนเลข6หลักซึ่งถือว่ามากในสมัยนั้นเพื่อให้ใส่ชุดของพวกเค้าตั้งแต่หัวจดเท้าเลย

2 Live Crew
ปีต่อมา กลุ่ม Rapperอื้อฉาว จากไมอามี่นาม 2 Live Crew ก็ทำเอาแตกตื่นด้วยเนื้อหาที่เน้นขายเรื่องใต้สะดือเป็นหลักเกือบทั้งอัลบั้มจนมีข่าวถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลและจั่วหัวหน้า1ไปทั่วประเทศกับอัลบั้ม “As nasty as they wanna be” หลังจากมีการฟ้องร้องกันไปพวกเขาก็ยังไม่เข็ดแต่กลับจัดทัวร์คอนเสิร์ตเรต R และออกอัลบั้ม “Banned in the U.S.A.” อีกแต่แล้วก็ค่อยๆเงียบหายไปโดยทิ้งเพลงอย่าง “Me so horny” ไว้ให้นึกถึง

Beastie Boys
1986 เพลง “Fight for your right to party” ของ the Beastie boys กลายเป็นเพลงโปรดของบรรดาเหล่าวัยโจ๋หัวดื้อทั้งหลายทั่วโลก และด้วยเหตุที่สัญลักษณ์ของพวกเค้ามีลักษณะคล้ายโลโก้ที่ติดอยู่หน้ารถ Volkswagon จึงถูกวัยรุ่นขโมยแกะออกมาจากรถระบาดไปทั้งอเมริกาและยุโรป

N.W.A. ปี1988 “N.W.A.” ที่มีสมาชิกในกลุ่มคือ Ice Cube(คนก่อตั้ง), Dr Dre, DJ Yella, MC Ren และ Eazy-E ถูกกล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลายด้วยแนวเพลงที่มีเนื้อหารุนแรงเกี่ยวข้องกับยาเสพติด, ปืน พูดถึงการตายอย่างน่าเศร้าของเด็กวัยรุ่นผิวดำที่เข้าไปพัวพันกับแก๊งอิทธิพลและพวกพ่อค้ายาทำให้คนอเมริกันต้องเหลียวมามองสังคมเหล่านี้เพลง “f**k the police” ที่เหล่า N.W.A. อ้างว่าแค่พูดในสิ่งที่เห็นถึงการทำงานของตำรวจนอกรีตใน L.A. ทำให้ F.B.I. ยื่นมือเข้ามาสืบสวน, คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ล้วนแต่กระหน่ำเปิดเพลงของพวดเค้า ซิงเกิ้ล “Straight Outta Compton” ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำในเวลาเพียงแค่6อาทิตย์หลังโปรโมท

แม้ว่าพวกเค้าจะแยกย้ายกันไปเพื่อทำงานเดี่ยวของตัวเอง แต่ N.W.A. ก็ยังถูกยกให้เป็น Gangsta Rapper ที่ดังที่สุดเท่าที่เคยมีมาอยู่ดี ปี1988นี้ยังได้เกิดศิลปินดังๆอีกมากมายอาทิเช่น Public Enemy, Eric B and Rakim, Salt-N-Pepa, DJ Jazzy Jeff and the Fresh Prince (Will Smith)

2Pac
1999 2Pac Amaru Shakur หรือที่รู้จักกันดีในนาม 2Pacก็เริ่มสร้างชื่อเสียงในวงการกับอัลบั้ม
“2Pacalypse now” ที่ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำและซิงเกิ้ล “Trapped” ก็ไต่ขึ้นถึงอันดับ3ใน U.S.Chart และ2ปีหลังจากนั้นทั่วโลกก็ได้รู้จัก 2Pac กับอัลบั้ม “Strictly a my N.IG.G.A.Z” 2Pac กลายเป็นศิลปินฮิพฮอพอันดับต้นๆของวงการทันที

House Of Painปี 1992 “House of Pain” วง Hardcore Rapper ลูกผสมระหว่าง American&Irish ก็กระหึ่มโลกด้วยเพลง “Jump Around” ที่ภายหลังกลายมาเป็นเพลงที่เปิดกันทุกคลับ นอกจากนี้ ศิลปินอย่าง Cypress Hill ก็เริ่มนำสไตล์ Rap แบบ Latin และ Mexican เข้ามาเผยแพร่ในฝั่ง West coast ทำให้ฝั่ง West coast เปิดกว้างสำหรับเพลงแนวใหม่ๆเสมอในขณะที่ East coast ยังคงอนุรักษณ์ในแบบเดิมๆไว้

Dr. Dre, Snoop Dogg / Cypress Hill
1993 ด้วยแรงโปรดิวซ์เองของ Dr Dre ทำให้ Snoop Doggy Dogg ก้าวขึ้นมาจรัสแสงในวงการอย่างเต็มภาคภูมิ, อัลบั้ม “Doggy Style” นับเป็นอัลบั้มฮิพฮอพอัลบั้มแรกที่ขึ้นอันดับ1ในเวลาแค่เพียงอาทิตย์เดียวและขายได้มหาศาลกว่า4ล้านก้อปปี้ทั่วโลก ทำให้กระแสเพลงแนวฮิพฮอพเริ่มฮิตไปทั่วโลก ศิลปินต่างๆพากันทยอยออกเทปไม่ว่าจะเป็น Wu Tang Clan, Nas, Warren GNotorious B.I.G 1995 Notorious B.I.G. หรือชื่อจริงว่า Christopher Wallace ออกอัลบั้ม “Ready to die” ที่ใช้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตจริงในช่วงเด็กที่ต้องวนเวียนอยู่กับการขายยาเสพติดเพื่อหาเงินประทังชีวิตและอัลบั้มที่ 2 “Life after death” ได้รับรางวัล Platinum หลายรางวัลรวมถึงเพลงในอัลบั้มอย่าง “One more chance” ก็ไต่ขึ้นอันดับ1อย่างรวดเร็ว

Lil' Kimมาถึงปี 1996 Notorious B.I.G. ก็ค้นพบช้างเผือกอย่าง Lil’ Kim ที่ดังตั้งแต่อายุ17กับเพลง “Crush on you” แม้จะถูกวิจารณ์จากผู้คร่ำหวอดในวงการฮิพฮอพว่าเพลงของเธอหยาบคายและสกปรกแต่เธอก็ไม่แยแสแต่อย่างใดThe Fugeesในปีเดียวกัน วง “The Fugees” ซึ่งประกอบด้วย Wyclef, Pras และ Lauren Hill ก็พลิกโฉมวงการเพลงฮิพฮอพอีกระลอกกับเพลงที่มีเนื้อร้องฟังสบายๆ ใช้คำไพเราะ ต่อต้านความรุนแรงบวกกับเมโลดี้ที่เป็นการรวมฮิพฮอพเข้ากับ Soul, Raggae และ Jazz ทำให้เพลงเก่าที่เอามาร้องใหม่อย่าง “Killing me softly” ของ Roberta Flack’s เป็นซิงเกิ้ลที่ขายได้มากที่สุดตลอดกาลด้วยยอดขายถึง 9ล้านก้อปปี้ ได้รับรางวัล Grammy สาขา Best Rap Album ในปี1997และเป็นซิงเกิ้ลแห่งปีด้วยแต่ที่น่าจดจำที่สุดคงหนีไม่พ้นการประกาศสงครามฮิพฮอพระหว่างฝั่ง East coast ที่นำโดย 2Pac เน้นสโลแกนที่ว่า “Keep it real” ยึดแนวเพลงแบบเดิมๆ กับฝั่ง West coast ที่มีหัวเรือใหญ่อย่าง Notorious B.I.G. กับวลี “It’s all good” เปิดใจรับแนวทางใหม่ๆเสมอ แข่งกันอย่างดุเดือดก่อนจะจบลงอย่างน่าเศร้าเมื่อทั้งคู่ถูกยิงตายขณะอยู่ในรถเหมือนกันในเวลาห่างกันไม่นานและคดีก็ยังไม่สามารถคลี่คลายจวบจนทุกวันนี้

1997 หลังจากเหตุการณ์น่าสลดผ่านไป ผลการสืบสวนคดีที่เกิดขึ้นได้พัวพันไปถึงค่าย Death Row Records ที่ Dr Dre กุมบังเหียนอยู่ Suge Knight โปรดิวเซอร์ของค่ายติดคุก9ปี, Afeni Shakur แม่ของ 2Pac ฟ้องร้องบริษัทข้อหาฉ้อโกงเงินลูกชายของเธอนับล้าน ศิลปินรายอื่นพลอยตาสว่างและพยายามยกเลิกสัญญาหรือปรึกษาทนายที่จะออกจากค่าย จะมีก็แต่เพียง Daz Dillinger ที่ยังอยู่Snoop Dogg ตัดสินใจย้ายหนีพร้อมกับเปิดใจให้สัมภาษณ์ว่าต้องการหลีกหนีความรุนแรงและหาที่สร้างสรรค์งานใหม่ๆ แต่ประโยคที่สะกิดใจที่สุดจนถึงทุกวันนี้ก็คือประโยคที่ว่า “To tell you the truth, I fear for my life on Death Row Records”


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=g-neuz&date=27-10-2007&group=6&gblog=1