วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติเพลงลูกทุ่ง


ประวัติเพลงลูกทุ่ง

ถ้าจะพิจารณาถึงกำเนิดของเพลงลูกทุ่งแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเพลงลูกทุ่งถือกำเนิดมาเป็นระยะเวลานานเท่ากับเพลง ไทยสากล เนื่องจากแรกเริ่มเดิมทีนั้น ยังไม่มีการแยกประเภทเพลงไทยสากลออกเป็นลูกทุ่งหรือลูกกรุง ถือว่าเป็นเพลง กลุ่มเดียวกัน นักแต่งเพลงและผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีหลายท่านในช่วงต้นล้วนแล้วแต่ไม่ประสงค์ให้แบ่งแยกเพลงไทยสากล ออกเป็นเพลงลูกทุ่งและ เพลงลูกกรุง อย่างไรก็ตาม ปรากฎว่าในยุคแรกมีนักร้องเพลงไทยสากลที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งนิยมร้องเพลงที่มีสาระบรรยาย ชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนาและความยากจน ชาวบ้านเรียกเพลงกลุ่มนี้ว่า "เพลงตลาด" หรือ "เพลงชีวิต"



เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงเวลานี้ มีนักร้อง แนวเพลงตลาดอยู่หลายคนที่แต่งเพลงเองด้วย อาทิ ไพบูลย์ บุตรขัน,ชลอ ไตรตรองสอน,พยงค์ มุกดา,มงคล อมาตยกุล,เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) ,สุรพล สมบัติเจรฺญ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ ได้แก่ วงดนตรี "จุฬารัตน"' ของ มงคล อมาตยกุล วงดนตรี "พยงค์ มุกดา" และวงดนตรี "สุรพล สมบัติเจริญ" นับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้ เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่ง จำนวนมากในกาลต่อมา


นักร้องที่ร้องเพลงแนวดังกล่าวในระยะต้นยังไม่เรียกกันว่า 'นักร้องลูกทุ่ง' นักร้องชายที่รู้จักชื่อกันดี เช่น คำรณ สัมบุณณานนท์, ชาญ เย็นแข, นิยม มารยาท, ก้าน แก้วสุพรรณ, ชัยชนะ บุณยโชติ, ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิง ที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช, ศรีสอางค์ ตรีเนตรเพลงลูกทุ่งแยกออกเป็นเอกเทศชัดเจนจากเพลงลูกกรุงนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ จัดรายการเพลงสถานีไทย โทรทัศน์ โดยตั้งชื่อรายการว่า "เพลงลูกทุ่ง" เมื่อปลายปี พ.ศ.2507 และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2509 มีการ จัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานครั้งที่ 2 ปรากฎว่า สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ในฐานะ นักร้องลูกทุ่ง ชายยอดเยี่ยม จากเพลงชื่อ "ยอดทิพย์รวงทอง" (ในการจัดงานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2507 ยังไม่มีเพลงลูกทุ่งส่งเข้าประกวด)ผู้ที่ทำให้เพลงลูกทุ่งพุ่งผงาดอยู่ในความนิยมของวงการเพลงด้วยลีลาและรูปแบบเฉพาะตนคือ สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งแต่งเพลง ร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตจากการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะ รำวงในเพลงที่เขา แต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลง "เสียวไส้" "ของปลอม" ฯลฯ


ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอดเป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2506 - 2513 เป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย


นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลง มาจากครู เพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่น พีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์, สุชาติ เทียนทอง และ ชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่นๆ มีอาทิ เพลิน พรหมแดน, จิ๋ว พิจิตร, สำเนียงม่วงทอง, ฉลอง การะเกด, ชาญขัย บัวศร,สมเสียร พานทอง ฯลฯ


ในช่วงยุคทองของเพลงลูกทุ่งนี้ มีนักร้องเกิดขึ้นใหม่หลายคนนักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, เพลิน พรหมแดน, พร ภิรมย์, ชาย เมืองสิงห์, ศรคีรี ศรีประจวบ ฯลฯ


คำจำกัดความของเพลงลูกทุ่งคืออะไรในหนังสือกึ่งศตวรรษ เพลงลูกทุ่งไทย ก็ให้คำจำกัดความไว้ว่า "เพลงลูกทุ่ง หมายถึงเพลง ที่สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคมอุดมคติและวัฒนธรรมไทย โดยมีท่วงทำนอง คำร้อง สำเนียง และลีลาการร้องการบรรเลงที่เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะซึ่งให้บรรยากาศ ความเป็นลูกทุ่ง"



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น