วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นานสกุล

นามสกุล คือ ชื่อบอกตระกูล (หรือสกุล) เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด โดยทั่วไปนามสกุล จะใช้ตามบิดาผู้ให้กำเนิด แต่บางครั้งก็ใช้ตามมารดา นามสกุล สามารถแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยได้รับการยินยอมจากเจ้าของสกุลด้วย
ก่อนหน้านี้ กฎหมายไทยกำหนดให้ผู้หญิงที่
แต่งงานแล้ว จะต้องเปลี่ยนมาใช้นามสกุลสามี แต่ในปัจจุบัน ศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ขาดให้ผู้หญิงมีสิทธิในการเลือกใช้นามสกุลของตัวเองหรือของสามีได้ ซึ่งถือเป็นการให้สิทธิแก่สตรีตรงตามที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 30 ระบุไว้
คำว่า "นามสกุล" บางครั้งเรียกว่า "ชื่อสกุล" หรือ "สกุล" เฉยๆ ก็มี เช่น "หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล"


มาของนามสกุลในประเทศไทย
เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น นามสกุลแรกของประเทศไทย คือ สุขุม

การตั้งนามสกุล
เมื่อมีพระราชบัญญัติขนามนามสกุลฯ ขึ้น ราษฎรไทยจึงต้องตั้งนามสกุลสำหรับใช้ในครอบครัวหรือตระกูลของตน โดยมีความนิยมหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้
ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย)
ข้าราชการที่มีราชทินนาม มักจะนำราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลของตน เช่น หลวงพิบูลสงคราม (แปลก) ใช้นามสกุล "พิบูลสงคราม"
ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย
ชาวไทยเชื้อสายจีนอาจแปลความหมายจาก "แซ่" ของตน หรือใช้คำว่าแซ่นำหน้าชื่อแซ่ หรือใช้ชื่อแซ่นำหน้า หรือสอดแทรกไว้ในนามสกุล
หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ใช้นามราชสกุลของตนเป็นนามสกุล แต่ลูกของหม่อมหลวงและต่อไปเป็นหลาน เหลน ใช้นามราชสกุลโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีคำว่า "ณ อยุธยา" ต่อท้าย สำหรับเชื้อพระวงศ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น