วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติดนตรีแนวคันทรี


ดนตรีคันทรี (อังกฤษ: Country music) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมเกิดในแถบสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้และทางภูเขาแอพพาลาเชียน มีต้นกำเนิดจากดนตรีโฟล์ก, ดนตรีเคลติก, ดนตรีกอสเปล และดนตรีโอลด์-ไทม์ และพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1920[1] คำว่า "คันทรี" เริ่มใช้กันในยุคทศวรรษ 1940 เมื่อก่อนหน้าที่ดนตรีฮิลบิลลีเสื่อมลงไป จนคำนี้มีการใช้อย่างกว้างขวางในยุค 1970 ขณะที่คำว่า "คันทรี" และ "เวสต์เทิร์น" ได้มีการใช้น้อยลงในช่วงนั้น ยกเว้นในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ในขณะที่ในสหรัฐอเมริกายังคงใช้คำนี้กันอย่างปกติอยู่
"The Origins of Country Music" หรือ "แหล่งกำเนิดของเพลงคันทรี่" เป็นผังแสดงต้นกำเนิดของเพลงคันทรี่ ให้เห็นเส้นทางของดนตรีชนิดต่างๆ ที่นำไปสู่ความเป็นดนตรีคันทรี่ หรือไม่ก็พัวพันกัน หลักๆได้แก่ เพลงพื้นบ้านของชนเผ่าดั้งเดิมต่างๆในอเมริกา เพลงพื้นบ้านของชาวอังกฤษ(ที่นำติดตัวไปด้วยเมื่ออพยพไปอยู่อมริกา) และของชาวอเมริกันรุ่นแรกๆ ซึ่งบางส่วนผันตัวออกไปเป็นเพลงคาวบอย นอกจากนี้แล้ว เพลงบลูส์เพลงแจ๊ส และเพลงป๊อปร่วมสมัย ก็มีอิทธิพลต่อเพลงคันทรี่ด้วยเช่นกัน
เริ่มจากที่เรียกกันว่า เพลงคาวบอย เพลงโฟล์ค เพลงโห่ (โยเดล) เพลงเว้สเทิร์นสะวิง เพลงบลูกร๊าส เพลงร็อคอะบิลลี่ เพลงฮ้องกี้ท้องค์ เพลงคันทรี่ร็อค ฯลฯ นั้น แตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไรบ้าง อันนี้คงต้องตอบรวมๆครับว่า โดยจิตวิญญาณและที่มานั้นเหมือนกัน เพราะเกิดจากศิลปินผู้ที่มีความรักและผูกพันกับการใช้ชีวิตแบบลูกทุ่ง รักธรรมชาติและสายลมแสงแดดทั้งสิ้น
ทั้งนี้ อาจมีเรื่องราวหรือแนวทางเฉพาะตัวบ้าง ก็เป็นธรรมดาของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย กับสภาพแวดล้อมไปจนถึงลมฟ้าอากาศที่ไม่เหมือนกัน แต่หัวใจสำคัญของทุกๆเพลง ที่ยังคงอยู่มาทุกยุคทุกสมัยไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ ความเรียบง่ายในท่วงทำนอง จังหวะ และการใช้ภาษาแบบจริงใจและตรงไปตรงมาในเนื้อร้อง ไม่ว่าจะเป็นในอารมณ์ใดๆ
ความแตกต่างมาเกิดขึ้นอย่างจริงๆจังๆก็เมื่อเพลงเหล่านี้เริ่มกลายเป็นสินค้า และการตลาดกำหนดให้ต้องมีการแยกประเภทให้ชัดเจน เพื่อการบริหารจัดการให้ได้ผลกำไรเท่านั้นเองการแยกประเภทดังกล่าว ยังแตกต่างไปตามกาลเวลาอีกด้วย จริงๆแล้วในยุคคาวบอยพิชิตตะวันตกนั้น คำว่าเพลงคันทรี่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ เพิ่งมาระยะหลังๆ ที่เมื่อบทเพลงของผู้ใช้ชีวิตแบบเอ๊าท์ดอร์ทั้งหลาย ชักจะถูกแยกประเภทออกเป็นหลายอย่างมากเกินไป ก็เลยถูกนำมารวมกลุ่มไว้ภายใต้ชื่อว่า คันทรี่แอนด์เว้สเทิร์น (Country and Western) จนในที่สุดก็เหลือแค่ คันทรี่ เฉยๆ ดังเช่นทุกวันนี้
เมื่อปี ค.ศ.1958 อันเป็นปีแรกที่มีการจัดพิธีมอบรางวัลแกรมมี่ หรือรางวัลตุ๊กตาทองสาขาการดนตรีให้กับเพลงยอดเยี่ยมประเภทต่างๆ ในการนี้ปรากฏว่า วง เดอะ คิงสตั้น ทริโอได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทคันทรี่และเว้สเทิร์น จากเพลง Tom Dooley
แต่พอในปีถัดมา ค.ศ.1959 วง เดอะ คิงสตั้น ทริโอ เดียวกัน กลับได้รับ รางวัลยอดเยี่ยมประเภทเพลงโฟล์ค จากผลงานดนตรีในอัลบั้มชุด At Large ที่ยังคงรูปแบบเช่นเดียวกันกับปีที่แล้ว ส่วนรางวัลยอดเยี่ยมประเภทคันทรี่และเว้สเทิร์น กลายเป็นเพลง Battle of New Orleans ขับร้องโดย จอห์นนี่ ฮอร์ตั้น อันมีท่วงทำนองจังหวะออกไปทางเพลง มาร์ช และเนื้อร้องที่บรรยายถึงการรบในสงคราม
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์เหล่านี้ได้ทำให้เพลงคันทรี่ได้รับการเผยแพร่ออกไปในวงกว้างขึ้น เกิดความคึกคักในวงการมากขึ้น มีศิลปินเก่งๆเกิดขึ้นใหม่เป็นที่รู้จักกันมากมาย และยังเป็นแรงดึงดูดให้ศิลปินเพลงในประเภทอื่นๆ หันมาแต่งเพลงร้องเพลงในแนวคันทรี่กันมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น เรย์ ชาร์ลส์ ศิลปินนักเปียโนตาบอด ราชาเพลงบลูส์และแจ๊สของยุค 60's ยังหันมาออกเพลงแนวคันทรี่ อย่าง I Can't Stop Loving You และ You Don't Know me จนฮิตติดอันดับ กับอีกรายหนึ่งคือ คอนเวย์ ทวิตตี้ ผู้โด่งดังในวงการร็อคแอนโรลล์อยู่ก่อน ก็ตัดสินใจผันตัวเองมาเป็นศิลปินเพลงคันทรี่อย่างถาวร มีเพลงฮิตอย่างเพลง Hello Darling
ในทางกลับกัน ก็มีศิลปินบางคนที่แจ้งเกิดในวงการเพลงคันทรี่ อย่างโอลิเวีย นิวตัน จอห์น สาวสวยนัยน์ตาโตสายเลือดเว้ลช์ ผู้โด่งดังมาถึงบ้านเราในยุค 70's กับเพลงฮิตหลายเพลงเช่น Let Me Be There และ If You Love Me Let Me Know พอประสบความสำเร็จ ก็หันไปมุ่งมั่นเอาดีทางเพลงป๊อปแทน หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เป็นนางเอกหนังวัยรุ่น
และมีอีกหลายคนที่ตั้งต้นจากคันทรี่ แต่มีเพลงฮิตข้ามไปติดอันดับป๊อปด้วย เลยถือโอกาสแอบไปร้องเพลงป๊อปบ้างเป็นครั้งเป็นคราว แต่ไม่ถึงกับตีจากวงการคันทรี่ไปเสียทีเดียว อย่างเช่น เค็นนี่ รอเจ้อร์ส ไงครับ มีเพลงฮิตติดอันดับทั้งสองประเภทหลายเพลงในยุค 70's เช่น Ruby Don't Take Your Gun To Town, Coward Of The Country และ The Gambler
ต้องถือว่าตั้งแต่ยุค 60's เป็นต้นมา คือยุคแห่งความสำเร็จอย่างล้นหลามของวงการเพลงคันทรี่ในเชิงพาณิชย์ แต่ก็เป็นช่วงที่จิตวิญญาณดั้งเดิมของเพลงคันทรี่ ดังที่ผมได้กล่าวถึงไปแล้ว ถูกละลายลงไปมาก เพลงคันทรี่เริ่มมีความเป็นลูกกรุงมากขึ้น ดนตรีเริ่มซับซ้อนขึ้นทั้งท่วงทำนองและจังหวะ เนื้อร้องก็เริ่มมีการเล่นสำบัดสำนวนมากขึ้น เห็นได้ชัดว่าพยายามเอาใจผู้บริโภคชาวกรุงผู้ค่อนข้างจะกระเป๋าหนักกว่าชาวทุ่ง

เป็นแบบนี้มาจนกระทั่งถึงปลายยุค 80's ก็มีความพยายามที่ทำให้เพลง คันทรี่แตกต่างจากเพลงป๊อปอีกครั้ง โดยศิลปินยุคใหม่ๆ ผู้มีแรงบันดาลใจ (ทั้งในเชิงศิลปะและเชิงพาณิชย์) อยากสร้างสรรค์ผลงานให้แตกต่าง อาศัยกระแสสังคมที่เริ่มหันมาส่งเสริมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับวิถีการดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ที่เริ่มแออัดต้องแกงแย่งกันมากขึ้น คนเมืองเริ่มโหยหาสังคมและสิ่งแวดล้อมแบบชนบทกันใหญ่

เราจึงได้เห็นศิลปินคันทรี่รุ่นหลังๆ หันมาทำดนตรีที่มีกลิ่นอายของชนบทมากขึ้น ด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นสัญญลักษณ์ของเพลงคันทรี่ดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นซอไวโอลิน กีตาร์โปร่งและกีตาร์เหล็ก แบนโจ ฯลฯ กับเนื้อร้องที่แสดงความผูกพันต่อบ้านเกิดและผู้คนรอบข้าง รวมทั้งความภาคภูมิใจกับการได้ใช้ชีวิตแบบติดดิน อะไรทำนองนี้ และเพื่อให้ครบทั้งสาระและรูปแบบ การแต่งตัวของนักร้องก็เริ่มหันกลับไปนุ่งยีนส์ ใส่รองเท้าบู๊ตและหมวกคาวบอยกันมากขึ้น เสียงร้องก็จะโชว์สำเนียงความเป็นชาวชนบทอย่างมั่นใจและจงใจ


ศิลปินรุ่นดังกล่าวก็มี แรนดี้ ทราวิส เจ้าของเพลงดังอย่างเช่น Forever And Ever, Amen และ No Place Like Home อีกคนก็ได้แก่ จ๊อร์จ สเตรท กับเพลงฮิต เช่น One Night At The Time เคยได้ยินจากวิทยุในบ้านเราบ่อยๆเหมือนกัน สองคนนี้ว่างๆยังแอบไปเล่นหนังสไตล์คาวบอยหรือไม่ก็ลูกทุ่งตะวันตกด้วยครับ และล่าสุดขณะที่ผมเขียนอยู่นี้ จ๊อร์จ สเตรท เพิ่งจะออกเพลงใหม่มาฮิตติดอันดับ อีก1 เพลงชื่อว่า She Let Herself Go จากยุค 90's มาจนถึงปัจจุบัน ก็มีศิลปินคันทรี่รุ่นใหม่เข้ามาในวงการอีกมากมาย หลายๆคนนำลูกเล่นเฉพาะตัว หรือจากพื้นฐานดนตรีที่ตนเองได้เคยฝึกฝนมาจากแนวอื่น มาสร้างสีสันและความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น โดยยังคงรักษาจิตวิญญาณของความเป็นคันทรี่ไว้ไม่ให้สูญหายไปไหน อย่างเช่น ก๊าร์ธ บรู้คส์ , โทบี้ คึ้ธ , ริคกี้ แวน เชลตั้น , วิ้นซ์ กิลล์ , และอื่นๆอีกหลายคน นอกจากนี้ยังมีนักร้องสาวเสียงดีอีกมากมาย อย่าง เฟธ ฮิลล์ , อลิสัน เคร้าส์ , ทริชา เยียร์วู้ด และวง เดอะ ดิ๊กซี่ ชิคส์ เป็นต้น

แนวเพลงคันทรียังได้มีศิลปินที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาล อย่าง เอลวิส เพรสลีย์ซึ่งต่อมาได้รวมแนวเพลง ร็อกแอนด์โรล เข้ามา และศิลปินร่วมสมัยอย่างการ์ธ บรูกส์ ที่มียอดขายอัลบั้ม 128 ล้านชุด ถือเป็นศิลปินเดี่ยวที่มียอดขายอัลบั้มสูงที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา
ขณะที่ยอดขาย
อัลบั้มของเพลงส่วนใหญ่อยู่ในขาลง ในปี 2006 เพลงคันทรีมียอดขายใน 6 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 17.7 เปอร์เซนต์ ด้วย 36 ล้านชุด มากกว่านั้นกลุ่มผู้ฟังในยังมีกลุ่มคนฟังมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี มียอดถึง 77.3 ล้านคนทุกอาทิตย์ จากสถิติการจัดอันดับทางวิทยุของ Arbitron Inc
http://www.thailandoutdoor.com/CowboyAndWestern/cowboyandwestern.html
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น