วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ผลไม้ คุณค่าหลากหลาย


มะเดื่อ
มะเดื่อชนิดนี้มักรับประทานผลสดในขณะยังอ่อนอยู่ ซึ่งผลอ่อนมี 2 แบบ คือ แบบผลสีเขียว และผลสีน้ำตาล ชาวบ้านกล่าวว่าสามารถรับประทานเป็นอาหารได้ทั้ง 2 แบบ แต่แบบสีเขียวจะมีรสชาติดีกว่า โดยจะใช้ผลสดๆ ล้างให้สะอาด กินแกล้มแกงหรือน้ำพริก รสชาติมันและกรุบกรอบ ช่วยลดความเผ็ดลงได้ หรือนำไปต้มให้สุกก่อน จึงหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่ในแกงเนื้อสัตว์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อแพะหรือเนื้อวัว รสชาติของผลมะเดื่อหลังปรุงเสร็จแล้วจะคล้ายกับมันเทศ และนอกจากนี้ยังอาจใช้ทำเป็นของหวาน โดยต้มให้นุ่มแล้วหั่นก่อนที่จะคลุกกับมะพร้าวขูดและน้ำตาล ส่วนผลสุกนั้นมีสีสันน่ารับประทานไม่น้อยแต่กลับพบว่าไม่นิยมนำมาบริโภค อาจเป็นเพราะรสชาติจืดชืดและไม่อร่อย นอกจากนี้ชาวบ้านยังใช้เป็นยาพื้นบ้าน โดยนำผลอ่อนสดๆ มารับประทานคราวละ 2-3 ผล เพื่อใช้รักษาโรคท้องร่วง เพราะมีรสชาติฝาดและเย็น


ชมพู่
ชมพู่มีส่วนที่ใช้เป็นยา รสและสรรพคุณยาไทยเอาเนื้อของชมพู่มาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่นหอม โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันทีสามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มาก เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ


แก้วมังกร
แก้วมังกรมี 2 ชนิดคือ สีขาวกับสีแดง สีแดงจะมีรสหวานกว่า ส่วนรสหวานของแก้วมังกรสีขาวเป็นหวานอ่อนๆ ที่ไม่มีพิษภัย จะมีก็แต่คนคิดรสหวานที่อาจติว่าจืดชืดไปหน่อย ถ้าใครไม่ชอบก็ขอบอกว่า คุณได้พลาดผลไม้ที่มีประโยชน์สุด ๆ ต่อสุขภาพและความงามไปอย่างน่าเสียดายความโดดเด่นที่ทำให้สาว ๆ หลายคนชอบกินผลไม้ชนิดนี้ก็เนื่องจากเป็นผลไม้ที่สามารถกินกันได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องไขมันและความหวานที่กลายไปเป็นไขมันสะสมในภายหลัง แถมยังกินอิ่มท้องจนทดแทนอาหารเย็น เป็นผลไม้ที่ใช้ช่วยลดน้ำหนักได้สบาย ๆ ทีเดียว คุณค่าอาหารที่ซุกซ่อนอยู่ในแก้วมังกรก็มีทั้งแคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามิน บี 1 บี 2 บี 3 แต่ที่เยอะมากสุดก็คือวิตามินซี จึงช่วยทั้งในเรื่องการบำรุงผิวพรรณ กระดูกและฟันแข็งแรง รวมทั้งช่วยในเรื่องของสายตาได้ด้วยวิธีทาน ก็ง่าย ๆ แค่ผ่าครึ่งลอกเปลือก หรือใช้ช้อนตักเข้าปากเลยก็ได้ หรือจะนำไปทำเป็นเครื่องดื่ม ใส่สลัด เสิร์ฟคู่ไอศกรีม หรือขนมหวาน แก้วมังกรก็สามารถแทรกรสชาติไปกับทุกอย่างได้กลมกลืนและกลมกล่อม
มะยม
ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง
มะปราง
ประโยชน์ : ผลสุก มีกรดอินทรีย์หลายชนิด มีน้ำตาล มีวิตามินซีและวิตามินเอสูง ธาตุฟอสฟอรัส แคลเซียม และอื่น ๆ ผลดิบ มีกรดอินทรีย์และวิตามินซีสูงกว่าผลสุก มีธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และอื่น ๆ ประโยชน์ทางยา รากใช้เป็นยาถอนพิษไข้ และถอนพิษผิดสำแดง ใบ ตอพอกแก้ปวดศีรษะลูก มีรสเปรี้ยวอม หวาน แก้เสมหะ กัดเสมหะในคอ แก้เสลดทางวัว แก้น้ำลายเหนียว และฟอกโลหิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น